Page 606 - kpi17968
P. 606

595




                         5. ควรปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยตนเอง

                   เมื่อพวกเขาต้องการที่จะแก้ไขประเด็นที่ถูกโต้เถียงทางสาธารณะเกี่ยวกับรัฐบาล
                   และการจำกัดอำนาจรัฐบาล


                         6. ผู้เลือกใช้แนวทางเจตนารมณ์นิยมได้เคารพต่อแนวคิดความเชื่อที่ดำรง
                   อยู่ในรัฐธรรมนูญ ในฐานะพันธะสัญญาที่ผูกมัดมากับรัฐธรรมนูญ


                         7. ถ้ารัฐธรรมนูญถูกแก้ไขในปัจจุบัน ประชาชนคาดหวังว่าเวลาศาลจะ
                   วินิจฉัยข้อกฎหมายในอีก 5 ปี ศาลจะถามว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดการแก้ไข
                   เปลี่ยนแปลงบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และจะถามเช่นนี้อีกใน 100 หรือ 200 ปี

                   ข้างหน้าด้วย


                         8. แนวคิดแบบเจตนารมณ์นิยมพยายามจะบังคับฝ่ายนิติบัญญัติผู้ออก
                   กฎหมายให้ถอนหรือแก้ไขกฎหมายที่แย่ มากกว่าจะปล่อยให้เป็นอำนาจของศาล
                   ในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวด้วยตนเอง


                         อย่างไรก็ตามแนวคิดเจตนารมณ์นิยมเดิมมักถูกโต้แย้ง โดยได้มีผู้วิพากษ์
                   วิจารณ์แนวคิดนี้ ได้แก่ เดวิด เอ สเตราส์ (David A. Strauss) โฮวาร์ด ลี

                   แมคเบรน (Howard Lee McBain) โอลิเวอร์ เวนเดล โฮเมส จูเนียร์ (Oliver
                   Wendell Holmes Jr.) หลุยส์ ดี. แบรนเดย์ (Louis D. Brandeis), and วูลส์โร
                   วิลสัน (Woodrow Wilson) เป็นต้น ซึ่งเดวิด เอ สเตราส์ ได้วิจารณ์แนวคิดแบบ

                   เจตนารมณ์นิยมเดิมว่ามีข้อบกพร่องที่สำคัญอยู่ 3 ประการ (Strauss, 2010,
                   p.18) กล่าวคือ


                         1. ในทางปฏิบัติมันเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่าอะไรคือความเข้าใจดั้งเดิมของ
                   ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะหลายครั้งรัฐธรรมนูญบางฉบับได้ถูกบังคับใช้มาอย่าง
                   ยาวนาน


                         2. ถึงแม้ว่าจะเข้าใจความคิดดั้งเดิมของผู้ร่างรัฐธรรมนูญได้ ก็ยังต้องเผชิญ
                   กับปัญหาของการพิจารณารัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับปัญหาและสภาพแวดล้อม

                   ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพแวดล้อมเมื่อตอนร่างรัฐธรรมนูญนั้นๆ







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   601   602   603   604   605   606   607   608   609   610   611