Page 173 - kpi18886
P. 173
165
กติกาที่เป็นสิ่งที่เป็นจริงและเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญได้ออกมาเป็นกฎหมาย
ประกาศใช้แล้วตั้งแต่เมื่อสิงหาคม 2560 กฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ ได้รับ
การวิพากษ์วิจารณ์ว่าการมองอนาคต 20 ปี เป็นไปได้ยาก ซึ่งผู้ร่างได้กำหนด
กติกาไว้ในมาตรา 11 ให้ทุก 5 ปีต้องปรับปรุงและแก้ไขได้เมื่อเห็นว่ามีความ
เปลี่ยนแปลงบริบทภายในและภายนอกประเทศ เช่น ตอนที่มีการเขียนฉบับที่
เป็นตุ๊กตา ผม ดร.กอบศักดิ์ อ.สุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นตัวแทน สปช.ไปร่วมเขียน
เขียนเสร็จเดือนสิงหาคม 2558 ก่อนที่จะมี SDG ของ UN ออกมา 27 กันยายน
2558 ดังนั้นจะเห็นว่าฉบับที่เขียนไว้ก็ไม่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของกระแส
โลกแล้ว ตอนที่เขียนเราไม่นึกว่ามีประธานาธิบดีของสหรัฐจะเป็นคนท่านนี้
ในอนาคตไม่มีใครบอกได้ว่าอุณหภูมิของโลกจะถูกควบคุมไม่ให้เกิน 2 องศา
ยุทธศาสตร์ชาติจึงต้องปรับเปลี่ยน นี่คือสิ่งที่เขียนไว้ชัดเจนในตัวหนังสือและ
ประกาศใช้เป็นกฎหมาย ในแผนและขั้นตอนปฏิรูปที่กำลังเขียนกันอยู่จะต้องเขียน
ออกมาให้ชัดเจนว่าขั้นตอน วิธีการปฏิรูป ระยะเวลาตัวชี้วัด งบประมาณ
งบประมาณต้องบอกด้วยว่ามาจากไหนบางส่วนอาจจะไม่ใช่งบประมาณของรัฐ
ต้องใช้งบจากภาคเอกชน ต้องใช้งบจากองค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานของรัฐ
ต้องมีหน้าที่ปฏิบัติตามนี้คือสิ่งที่เขียนไว้เป็นตัวหนังสือ
ความท้าทายยกมา 2 ประเด็นในกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ
1) ประชาชนทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายสร้าง
ความรับรู้และความเข้าใจและเป็นที่ยอมรับของยุทธศาสตร์ชาติร่วมกัน
เหตุผลก็คือยุทธศาสตร์ชาติไม่ใช่ยุทธศาสตร์รัฐบาล ประชาชนต้อง
เป็นเจ้าของร่วมกันมีความรับรู้และเป็นเจ้าของร่วมกัน วันนี้กำลังเริ่มมี
เวทีรับฟังความเห็นสร้างการมีส่วนร่วม กฎหมายปฏิรูปประเทศมาตรา
18 เขียนว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ในขั้นการจัดทำแผนปฏิรูป
ร่วมในการติดตาม ร่วมในการตรวจสอบ และร่วมในการประเมินผล
2) ในกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อจัดทำแผนปฏิรูป ที่มีการจัดขึ้นเป็น
ความท้าทาย คือ นอกเหนือจากองค์กรภาครัฐ แล้วการมีส่วนร่วม
จะเกิดขึ้นได้อย่างไร พรรคการเมืองและนักการเมืองจะช่วยทำให้
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นจริงได้อย่างไร จะร่วมกันทำให้เกิดขึ้นเป็นจริง
การอภิปรายแสดงทัศนะ