Page 168 - kpi18886
P. 168
160
กลางเท่าไร ใครเป็นคนขายให้กับรัฐ ใครเป็นผู้ชนะสัญญา รัฐคิดว่าข้อมูลเท่านี้
เพียงพอแล้วตามกฎกติกาและมีความโปร่งใส แต่ด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน
ต้องการข้อมูลมากกว่านั้น เพราะการโกงมีความร่วมมือทำกันเป็นขั้นตอน เช่น
ราคากลางก็ฮั้วกันมาแล้ว ดังนั้น การเปิดเผยข้อมูลต้องเปิดกว้างให้สามารถ
เชื่อมโยงให้เห็นกลไกราคา กลไกการฮั้วประมูล กลไกการร่วมมือกันทุจริต เช่น
ใคร/คนที่ได้งาน คนนั้นได้งานประเภทนี้ในจังหวัดใดบ้าง ได้ไปในราคาเท่าไร เป็น
บริษัทเดียวกันหรือไม่ จึงเห็นว่าการตีความเรื่องการเปิดเผยข้อมูลก็แตกต่างกัน
แล้ว นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน
ของเจ้าหน้าที่ของรัฐและนักการเมือง จากเดิมเมื่อมีการยื่นบัญชีทรัพย์สินแล้ว
ปปช. ก็จะนำบัญชีเอกสารเหล่านี้มาติดประกาศให้ทุกคนได้เห็นสื่อมวลชนหรือ
ประชาชนจะถ่ายรูปเก็บข้อมูลและเกิดการตรวจสอบที่เป็นไปได้อย่างกว้างขวาง
อดีตข้อมูลที่นำไปสู่การดำเนินคดีกับนักการเมืองหรือข้าราชการที่ทุจริต หลักๆ
แล้วมาจากการเปิดเผยของสื่อมวลชน ข้อมูลที่ใช้ประกอบในการทำคดีแทบ
ทุกคดีทั่วโลก 60% มาจากจุดตั้งต้นของการแสวงหาข้อมูลของสื่อมวลชน ไม่ใช่
มาจากของเจ้าหน้าที่รัฐ แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนว่าเมื่อยื่นบัญชีทรัพย์สินแล้ว
ให้ ปปช. ตรวจสอบข้อมูลและเมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้เปิดเผย
ผลการตรวจสอบ –ผลการตรวจสอบไม่ใช่เปิดเผยข้อมูล- และประกาศให้รู้ว่า
ผลการตรวจสอบของ ปปช. ออกมาเป็นอย่างไร และในระดับ พรบ. ประกอบ
รัฐธรรมนูญ ได้เขียนกระชับมากขึ้นไปอีกว่า ให้เปิดเผยผลการตรวจสอบโดยสรุป
เช่น การสำรวจบัญชีทรัพย์สินของหัวหน้าพรรคท่านนี้พบว่าปกติหรือไม่ปกติ หรือ
อาจมีข้อสังเกตเล็กๆ น้อยๆ นี่คือ-โดยสรุป ซึ่ง ปปช.ยังประกาศมาตรการออกมา
อีกว่า ยกเว้นการเปิดเผยข้อมูลที่เห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัว 14 ประการ เช่น
บ้านเลขที่ บัญชีทรัพย์สินบัญชีเท่าไร ฯลฯ ทั้งนี้เพราะวิธีคิดเรื่องการเปิดเผย
ข้อมูลแตกต่างกัน การมี พรบ. ว่าด้วย ปปช. การต่อต้านคอร์รัปชันที่จะประสบ
ความสำเร็จหรือประสบความล้มเหลวอยู่ที่เริ่มต้นและการวางรากฐานที่ดี
ความสำคัญของ พรบ.ว่าด้วย ปปช. นี้จึงมีความสำคัญ พรบ.ฉบับนี้ร่างออกมา
ตัดบทบาทอำนาจของ ปปช. ในเรื่องการป้องกันและกิจการระหว่างประเทศออก
ทำให้งานและบทบาทด้านการป้องกันของ ปปช. หมดไป
การอภิปรายแสดงทัศนะ