Page 188 - kpi18886
P. 188
180
การเลือกตั้งและการได้มาซึ่งนักการเมือง:
บทเรียนในอดีตของประเทศไทย
ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักวิจัยและพัฒนา
สถาบันพระปกเกล้า
บทนำ
การเลือกตั้งเป็นวิธีการที่ระบอบการเมืองการปกครองสมัยใหม่นิยมใช้เป็น
เครื่องมือในการคัดสรรกลั่นกรองบุคคลหรือคณะบุคคลเข้าสู่อำนาจทางการเมือง
การปกครองที่มีความชอบธรรมมากที่สุดวิธีการหนึ่ง เนื่องจากการเลือกตั้ง
เป็นเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การมีและได้ใช้
สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคมประเทศ มีความเชื่อมั่น และศรัทธาในความสามารถของตนเองและ
เพื่อนมนุษย์ว่าสามารถตัดสินใจเลือกรัฐบาล เลือกรูปแบบการปกครอง เป็นวิถีที่
สำคัญในการที่ประชาชนจะได้มีโอกาสควบคุมเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นแนวทาง
1
ที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้ เนื่องจาก
ในสังคมการเมืองขนาดใหญ่ดังรัฐประชาชาติทั้งหลายนั้น การที่พลเมืองทั้งหมด
จะมาประชุมกันเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะทั้งปวงด้วยตนเองไม่อาจกระทำได้
กิจการอันเป็นส่วนรวมทั้งหลายจึงต้องกระทำผ่านระบบตัวแทน การเลือกตั้งจึงมี
ความสำคัญในฐานะกิจกรรมทางการเมืองที่จะได้มาซึ่งตัวแทนดังกล่าว ดังนั้น
1 Verba, Sydney, Norman Nie, and Jae-On Kim. (1978). Participation and
Political Equality : A Seven - Nation Comparison. London, New York, Melbourne:
Cambridge University Press, p. 47.
การประชุมกลุมยอยที่ 1