Page 193 - kpi18886
P. 193

185




                   สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม  จำนวน 78 คน และ (2) สมาชิกประเภทที่
                                                  14
                   2 ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง จำนวน 78 คน
                   ภายใต้โครงสร้างรัฐสภาที่มีสภาเดียวและประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท
                   กอปรกับการไม่อนุญาต ให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองหรือการดำเนินกิจกรรม

                   ทางการเมืองในรูปพรรคทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งไม่มี
                   อิทธิพลต่อการจัดตั้งรัฐบาลมากนักเนื่องจากขาดเอกภาพ ส่งผลให้สมาชิกสภา
                   ผู้แทนราษฎรที่มาจากการแต่งตั้งซึ่งมีเอกภาพมากกว่าเป็นกลุ่มการเมือง

                                                                    15
                   ที่กุมอำนาจในรัฐสภาและมีอิทธิพลสูงในการจัดตั้งรัฐบาล  การเมืองการปกครอง
                   ไทยในช่วง 25 ปีแรก (พ.ศ. 2475–2500) ดำรงอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและ
                   การช่วงชิงอำนาจทางการเมืองภายในคณะราษฎร และระหว่างคณะราษฎรกับ

                   กลุ่มอำนาจเดิม  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงหลักทางการเมืองและผลที่เกิดขึ้น
                                 16
                   ตามมาจากความขัดแย้งและการช่วงชิงอำนาจดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยกำหนด
                   แบบแผนของการได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งในช่วงเวลาดังกล่าว


                         การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองโดยการดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีของ
                   พระยาพหลพลพยุหเสนานับเป็นการสถาปนาอำนาจของคณะราษฎรให้มั่นคงและ

                   เบ็ดเสร็จเป็นครั้งแรกหลังจากความพยายามในการประนีประนอมอำนาจกับ


                      14   รูปแบบที่ใช้เป็นการเลือกตั้งทางอ้อมสองชั้น ในระบบรวมเขต (จังหวัด) คือ ประชาชน
                   ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละตำบล เลือกตั้งผู้แทนตำบล 1 คน การเลือกตั้งผู้แทนตำบล กฎหมาย
                   กำหนดให้กระทำโดยการประกาศพระราชกฤษฎีกาว่าให้มีการเลือกตั้งผู้แทนตำบล ให้กรม
                   การอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงในตำบลนั้นขึ้นใช้ ในการทำบัญชีรายชื่อนี้ให้ถือ
                   ตามทะเบียนสำมะโนครัว เมื่อได้ผู้แทนตำบลแล้ว ผู้แทนตำบลจึงออกเสียงเลือกตั้ง สมาชิกสภา
                   ผู้แทนราษฎรของจังหวัด โดยผู้แทนตำบลมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เท่าจำนวน
                   สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จังหวัดนั้นพึงมี ทั้งนี้ การกำหนดจำนวนดังกล่าวใช้เกณฑ์ประชากร
                   200,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน (ดู พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง พ.ศ. 2475
                   แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2476 มาตรา 4 มาตรา 11 และมาตรา 18)
                      15   นิยม รัฐอมฤต. (2549). “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร,” ใน นรนิติ เศรษฐบุตร,
                   บรรณาธิการ. การเมืองการปกครองไทยในรอบ 60 ปีแห่งการครองสิริราชสมบัติของพระบาท
                   สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า, หน้า 71.
                      16   คริส เบเคอร์และผาสุก พงไพจิตร. (2557). ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย, พิมพ์ครั้งที่
                   2. กรุงเทพฯ: มติชน, หน้า 162.





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 1
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198