Page 190 - kpi18886
P. 190
182
การเลือกตั้งจะมีความหมาย และถือว่าเป็นฐานที่มาของความชอบธรรมในอำนาจ
ของรัฐบาลและผู้ปกครองได้นั้นจะต้องมีลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับ
เป็นสากล ได้แก่ ความเป็นอิสระของการเลือกตั้ง (free voting) หลักการเลือกตั้ง
ตามกำหนดระยะเวลา (periodic election) การเลือกตั้งที่ยุติธรรม (fair
election) หลักการให้สิทธิการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป (universal suffrage) หลัก
ความเสมอภาค (equal suffrage) และหลักการลงคะแนนลับ (secret voting)
5
นอกจากนี้ ในปัจจุบัน การตัดสินใจเลือกระบบการเลือกตั้งที่เหมาะสมเป็น
ประเด็นที่มีความสำคัญมากที่สุดประเด็นหนึ่งในการออกแบบสถาบันทางการเมือง
ในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากระบบการเลือกตั้งเป็นตัวกำหนดว่าคะแนนเสียง
แบบใดและจำนวนเท่าไรของประชาชนที่จะถูกนับหรือนำมาคำนวณเป็นจำนวน
ที่นั่งที่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองจะได้รับในการเลือกตั้ง ระบบการเลือกตั้ง
ที่แตกต่างกันย่อมมีทางเลือกและวิธีการลงคะแนนสำหรับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ที่แตกต่างกัน และนำไปสู่ผลการเลือกตั้งที่แตกต่างกัน ระบบการเลือกตั้งจึงมี
ความสำคัญในฐานะกลไกและเครื่องมือของระบอบประชาธิปไตย ในการกำหนด
เรื่องความเป็นตัวแทน กำหนดระบบพรรคการเมือง และกำหนดระบบการเมือง
6
หรืออาจกล่าวให้รวบรัดและเฉพาะเจาะจงกว่านั้นก็คือการกำหนดวิธีการเข้าสู่
ตำแหน่งในสถาบันทางการเมืองที่ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนนั่นเอง
บทความนี้ทำการสำรวจและทบทวนข้อมูลและข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์
เกี่ยวกับการได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งของประเทศไทยนับตั้งแต่
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
โดยแบ่งการนำเสนอเนื้อหาออกเป็น 6 ช่วงเวลา ได้แก่ (1) ช่วงตั้งแต่ พ.ศ.
2475 ถึง พ.ศ. 2500 (2) ช่วงหลัง พ.ศ. 2500 ถึง พ.ศ. 2516 (3) ช่วงหลัง
เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ถึง พ.ศ. 2520 (4) “ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ” (พ.ศ.
2521-2531) (5) ช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การปฏิรูปการเมือง (หลังการเลือกตั้งทั่วไป
5 ดูรายละเอียดใน Goodwin-Gill, Guy S. (2006). Free and Fair Election: New
Expanded Edition. Geneva: Inter-Parliamentary Union, pp. vi-xi.
6 Nils-Christian Bormanna and Matt Golder. (2013). Democratic Electoral
Systems around the World, 1946–2011. Electoral Studies 32(2): 360–369.
การประชุมกลุมยอยที่ 1