Page 192 - kpi18886
P. 192
184
(ต่อมาเรียกว่า ประชาธิปไตย) เมื่อยึดอำนาจได้แล้ว คณะราษฎรได้ทูลเชิญให้
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯรับตำแหน่งพระประมุขแห่งรัฐ ซึ่งพระองค์ทรงรับ
และต่อมาได้ทรงพระราชทานพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
ชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เป็นกติกาการปกครองบ้านเมืองเป็นการชั่วคราว
ไปก่อน 10
อย่างไรก็ตาม หลังจากยึดอำนาจได้สำเร็จ คณะราษฎรได้สถาปนาตัวเอง
เป็นผู้พิทักษ์ระบอบการปกครองใหม่ด้วยการเข้ากุมอำนาจรัฐตามบทบัญญัติของ
พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
ซึ่งกำหนดให้ “คณะราษฎรซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร เป็นผู้ใช้อำนาจ
แทนจัดตั้งผู้แทนราษฎรและได้มีการแต่งตั้งผู้แทนราษฎรชั่วคราวขึ้น มีจำนวน
11
70 นาย ทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภา ” จนกว่าจะถึงเวลาที่สมาชิกในสมัยที่สอง
จะเข้ารับตำแหน่ง นอกจากนี้ คณะราษฎรยังได้เข้าควบคุมอำนาจทางการทหาร
12
13
โดยการแต่งตั้งบุคคลในคณะราษฎรเข้าไปดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในกองทัพ และ
สร้างรูปแบบการปกครองระบบรัฐสภาที่มีลักษณะของการประนีประนอมกับกลุ่ม
อำนาจเก่า ผ่านบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช
2475 ซึ่ง มีเนื้อหาในบทเฉพาะกาลกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิก
2 ประเภทที่มีจำนวนเท่ากัน ประกอบด้วย (1) สมาชิกประเภทที่ 1 ได้แก่
10 นรนิติ เศรษฐบุตร. (2555). วันการเมือง. (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า), หน้า 153.
11 ชาย ไชยชิต และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2552). “การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ประเภทที่ 1 และ สมาชิกประเภทที่ 2,” ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า.
สืบค้นจาก < http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ประเภทที่_1_และ_สมาชิกประเภทที่_2> เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
12 ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะผู้รักษาพระนครจึงได้มีการเลือกบุคคลจำนวน
70 คนเพื่อทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ในจำนวนผู้แทนที่ได้
รับการแต่งตั้งนั้นมีสมาชิกคณะราษฎร 31 นาย ที่เหลืออีก 39 นาย เป็นบุคคลผู้มีฐานันดรศักดิ์
และราชตระกูล เช่น ราชตระกูลสนิทวงศ์ ราชตระกูลเทพหัสดิน ราชชินิกุลบุนนาค เป็นต้น
(ชาย ไชยชิต และนครินทร์ เมฆไตรรัตน์. เพิ่งอ้าง.)
13 Niyom Rathamarit. (2006). Re-establishing Democracy: How Kriangsak and
Prem Managed Political Parties (Nonthaburi: King Prajadhipok’s Institute), p. 9.
การประชุมกลุมยอยที่ 1