Page 191 - kpi18886
P. 191
183
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2540) และ (6) ภายหลังการปฏิรูป
การเมือง พ.ศ. 2540 ถึงปัจจุบัน ความมุ่งหมายหลักของสำรวจและการทบทวน
ดังกล่าวคือการฉายภาพความสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบเชิงสถาบันโดยเฉพาะ
การออกแบบระบบการเลือกตั้งและพรรคการเมืองกับผลที่เกิดขึ้นจริงเพื่อเป็น
ข้อมูลพื้นฐานประกอบการอภิปรายในการประชุมห้อยย่อย (ความท้าทายที่ 1
ได้นักการเมืองที่มีคุณภาพ เข้าสภา?) การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า
7
ครั้งที่ 19 ประจำปี 2560 เป็นหลัก
(1) การได้มาซึ่งนักการเมืองผ่านการเลือกตั้งในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึง
พ.ศ. 2500
จุดเปลี่ยนที่สำคัญของการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองการปกครองไทย
เริ่มขึ้นเมื่อ “คณะราษฎร” ซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และข้าราชการ
8
พลเรือนระดับกลาง จำนวน 99 คน ใช้กำลังทหารเข้ายึดอำนาจการปกครองจาก
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในตอนเช้าตรู่ของวันที่
24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในขณะที่พระองค์ทรงแปรพระราชฐานประทับอยู่ที่
9
พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การยึดอำนาจ
การปกครองครั้งนี้ คณะผู้ก่อการมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
7 บทความนี้มีเป้าหมายรอง (แฝง) คือการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งข้อมูลทางวิชาการ
ของสถาบันพระปกเกล้าเพื่อขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์ให้กว้างขวางขึ้น ข้อมูลและข้อเท็จจริง
ทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในบทความนี้จึงอาศัยการสืบค้นจากเอกสารวิชาการและฐานข้อมูลการเมือง
การปกครองไทยของสถาบันพระปกเกล้าเป็นส่วนใหญ่ การถกเถียงเกี่ยวกับการอธิบายหรือ
ตีความข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ในบทความนี้และในแหล่งข้อมูลที่บทความนี้อ้างอิงถึงเป็นสิ่งที่
ผู้เขียนปรารถนาให้เกิดขึ้น เพียงแต่ยังไม่ใช่เป้าหมายหลักของการนำเสนอบทความนี้
8 ผู้นำคณะราษฎร ประกอบด้วย นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า
นายพันเอกพระยาทรงสุรเดชเป็นหัวหน้าสายนายทหารชั้นยศสูง นายพันตรีหวงพิบูลสงครามเป็น
หัวหน้าสายนายทหารชั้นยศต่ำ นาวาตรีหลวงสินธุ์สงครามชัยเป็นหัวหน้าสายทหารเรือ และ
หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นหัวหน้าสายข้าราชการพลเรือน
9 ปิยะวรรณ ปานโต. (2552). “คณะราษฎร.” ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบัน
พระปกเกล้า. สืบค้นจาก <http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=คณะราษฎร_
(ปิยะวรรณ_ปานโต)> เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2559.
การประชุมกลุมยอยที่ 1