Page 280 - kpi18886
P. 280
272
ตีความว่าผิดหรือไม่ผิด จริยธรรมจึงต้องชัดไม่งั้นจะเป็นความเสี่ยงอีกแบบหนึ่ง
จะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองมากกว่าตรวจสอบคนผิด
ด้านประสิทธิภาพและบทบาทของประชาชนในการป้องกันการทุจริต ที่ผ่าน
มาแม้ใช้ไม่ได้แต่คือการกระทำเชิงสัญลักษณ์ เป็นการกระทำเชิงสังคมที่อาจ
ทรงพลังและไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับ เช่น ในอังกฤษมีเว็บไซต์ที่ประชาชน
สามารถเข้าไปแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐมนตรีคนไหนแล้วก็ลงชื่อกัน
อย่างไรก็ตามคิดว่าในรัฐธรรมนูญนี้ยังมีอะไรที่น่าจะทำได้ดีในเรื่องของการ
ส่งเสริมภาคประชาชน มาตรา 63 เขียนว่าให้ส่งเสริม แต่ในรูปธรรมยังไม่เห็นว่า
จะส่งเสริมอย่างไร แต่ที่สำคัญที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนได้ คือ
การเปิดเผยข้อมูล ถ้าไม่มีข้อมูลประชาชนทำอะไรไม่ได้ ตรวจสอบอะไรไม่ได้
การเปิดเผยผลประโยชน์ที่รัฐเอื้อให้กับเอกชน การเปิดเผยสัมปทาน พรบ. ข้อมูล
ข่าวสารออกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนบัดนี้ ขอดูสัญญาสัมปทานได้เต็มที่คือ
สรุปสั้นสั้น จะได้สัญญาทั้งฉบับยากมาก ใน พรบ.ข้อมูลข่าวสารเขียนไว้ว่า
สัมปทานต้องเปิดเผยก็ไม่เปิดเผย รวมถึงรัฐวิสาหกิจและรัฐวิสาหกิจที่อยู่ใน
ตลาดหลักทรัพย์ด้วย องค์กรอิสระต้องเปิดเผยข้อมูล ข้อมูลที่ได้พบจาก
การตรวจสอบถ้าเปิดเผยไม่ได้จะตรวจสอบไปทำไม ในต่างประเทศแม้กระทั่ง
คำตัดสินของศาลฎีกายังเปิดเผยได้หมดแล้ว เข้าไปดูในเว็บไซต์ได้เลย อันนี้เรื่องที่
ช่วยให้มีความเป็นธรรมที่ประชาชนสามารถรับรู้ถึงความเป็นธรรมได้ ปปช.
ต้องเปิดเผยจำนวนเสียงในการลงคะแนนหรือเหตุผลในคำตัดสิน สิ่งนี้องค์กร
อิสระเองต้องปรับปรุง
การมีส่วนร่วมจากข้างนอก ยังมีองค์กรที่มีทุนทางสังคมอีกจำนวนมาก เช่น
ACT - Anti-Corruption Organization of Thailand, Transparency International
องค์กรผู้บริโภคบางองค์กรที่มีประวัติอันยาวนาน ตอนนี้อยากจะจับโกงจะต้องเอา
องค์กรที่สั่งให้หันซ้ายหันขวาไม่ได้เข้ามาร่วม จะไม่เกิดคำถาม และไม่ซับซ้อน
ยกตัวอย่างเรื่องจัดซื้อจัดจ้างที่แก้กฎหมายจัดซื้อจัดจ้างกันเพื่อแก้ปัญหาทุจริต
โดยแก้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ นั้นควรดูตัวอย่างกรณีการจัดซื้อจัดจ้างของ
รัฐวิสาหกิจโดยนำ Integrity pact (ข้อตกลงคุณธรรม) ไปใช้ กล่าวคือการนำ
ภาคเอกชนจาก ATC – องค์กรต้านคอร์รัปชัน ไปมีส่วนร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์
การประชุมกลุมยอยที่ 3