Page 279 - kpi18886
P. 279
271
สร้างกลไกตรวจสอบถ่วงดุล ดังนั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำงานได้ดีหรือไม่
ก็ตอบไม่ได้ ถ้าได้คนดีมันก็เวิร์คและไม่ต้องถ่วงดุล ถ้าได้คนไม่ดีมันก็ไม่เวิร์ค
เพราะมันไม่มีระบบถ่วงดุล
รัฐธรรมนูญนั้นคือกรอบกว้างๆ ที่จะบอกว่าดีหรือไม่ดีจะอยู่ที่กฎหมายลูก
กฎหมายลูกจึงเป็น ความท้าทายประการแรก คือต้องดูว่า กฎหมายลูกสามารถ
นำไปสู่การปฏิบัติและได้ผลตามเจตนารมณ์จริงหรือไม่ หรือปฏิบัติได้ดีจริง
ในช่วงต้นแล้วต้องมีการทบทวนแก้ไขให้เหมาะสมเมื่อเวลาเปลี่ยนไปหรือไม่
กฎระเบียบที่มีอยู่ใช้ได้หรือไม่ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ออกมาใหม่ๆ มี
ประสิทธิภาพมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะลดประสิทธิภาพลง เช่น นักการเมืองเริ่ม
มีการโยกย้ายทรัพย์สินหลบเลี่ยงการตรวจสอบ เป็นต้น หรือกฎหมายเข้าชื่อ
เสนอกฎหมายที่มีปัญหาในการปฏิบัติ เช่น จำนวนผู้เข้าชื่อ หรือสิทธิของผู้มีสิทธิ
เข้าชื่อ หรือกรณีประชาชนเสนอกฎหมาย พอเข้าสภาก็มีกฎหมายจาก สส.
เสนอแทรกทันทีกฎหมายประชาชนก็จะตกไป
ความท้าทายที่สอง ระบบที่ Top down มีข้อจำกัด ไม่ใช่ว่า ปปช. หรือ
สตง. ถ้าคิดว่าประเทศนี้ทุจริตคอร์รัปชันเหมือนหนู รูปแบบระบบที่จะมีแมว
อยู่สี่ห้าตัว ดูง่ายๆ จากจำนวนคดีที่ค้างอยู่ ปปช. แล้วจะหวังให้แมวตัวนี้จับหนู
อะไรได้อีก การให้อำนาจใหม่แก่องค์กรอิสระอื่นในเรื่องการตรวจสอบและโทษ
ทางปกครอง ที่นอกเหนือจากงานเกี่ยวกับทุจริตต้องมุ่งไป ปปช. เพียงอย่างเดียว
เพราะ ปปช. มีคดีที่ติดค้างอยู่มาก ตรงนี้คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีช่วยปลดล็อค
สำหรับเงื่อนไขใหม่ๆ ที่ถอดถอนได้และเรื่องคุณสมบัติ จริยธรรมของ
นักการเมืองไม่มี มีแต่ข้อบังคับซึ่งลงโทษกันเอง ถ้าหากเทียบกับจริยธรรม
วิปกครองของข้าราชการ นักการเมืองไม่มีอะไรคุมเลย เช่น รัฐมนตรี อยู่ใน
ครม. มีส่วนได้เสียโดยตรงอยากพูดอะไรก็พูดได้ว่าส่งเสริมโครงการนี้ทั้งที่ตัวเอง
มีหุ้นส่วน ไม่มีเกณฑ์คุมเลย จึงต้องมีอะไรมาคุมแต่ก็ต้องระวังไว้ว่าจริยธรรม
ไม่ใช่กฎหมาย ไม่มีดำหรือขาว จึงบังคับใช้ไม่ได้ง่ายๆ ตัวอย่าง code of ethics
เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนหลายประเทศเขียนว่าไม่ใช่อะไรทำได้/อะไรทำไม่ได้แต่
เขียนไว้ว่า การกระทำใดใดที่ทำให้สาธารณะเห็นว่าอาจมีความไม่เป็นกลาง
เกิดขึ้นเป็นการกระทำที่ไม่สมควร เป็นการรับรู้ เป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจ
การประชุมกลุมยอยที่ 3