Page 283 - kpi18886
P. 283

275




                   โฆษณาชวนเชื่อเพราะตัดการมีส่วนร่วมของประชาชนออก รัฐธรรมนูญ

                   พ.ศ. 2550 ในมาตรา 164 ที่บอกว่าให้ประชาชน 20,000 คนสามารถที่จะยื่น
                   ต่อประธานวุฒิฯ ให้วุฒิสภา 3 ใน 5  ถอดถอนได้ตั้งแต่นายกฯ สส. สว.
                   ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการ

                   สูงสุด ถ้าเพียงส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ราชการ การทำหน้าที่ในการยุติธรรม
                   หรือจงใจใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติหรือรัฐธรรมนูญหรือฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม
                   มาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง แต่ กรธ.กลับตัดทิ้ง ทั้งที่ควรให้มี

                   พัฒนาการไป และพยายามหากลไกมาแก้ปัญหา กลับตัดทิ้งแล้วไปคิดกลไกใหม่
                   ซึ่งกลไกใหม่ใหม่ยิ่งเป็นไปไม่ได้ เห็นด้วยว่าการให้เสือเขียนจริยธรรมตนเอง
                   ก็จะเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ หัวใจของการปราบทุจริตปราบโกงไม่ได้อยู่ที่กลไก

                   หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น 10 กว่าปีที่มี ปปช. พิสูจน์มาแล้ว
                   หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญเพื่อจัดการคอร์รัปชันไม่ได้ตอบโจทย์ หลายอย่าง
                   ออกแบบมาอย่างดีจากต่างประเทศ แต่เมืองไทยถูกทำให้ไร้ประสิทธิภาพโดย

                   ผู้มีอำนาจมาตลอด

                         การแก้ปัญหาการทุจริตของสังคมไทยต้องมีกลไกถ่วงดุล ไม่ให้ฝ่ายบริหาร

                   มีอำนาจเบ็ดเสร็จ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ อำนาจต้องตรวจสอบกันได้ และ
                   อีกอำนาจที่ละเลยไม่ได้จากภาคประชาสังคม คือ ต้องให้โปร่งใส ตรวจสอบและ
                   เข้าถึงได้โดยภาคประชาสังคมเพื่อได้ช่วยกัน การโยนให้กับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง

                   ภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งนั้นจะทำให้คนอื่นนิ่งเฉย ให้อำนาจหน่วยงานองค์กร
                   ตรวจสอบทำหน้าที่ไปแล้ว ประชาชนอย่าเข้ามายุ่ง เช่นนี้แล้วจะไปปราบโกง
                   ได้อย่างไร


                         การทำให้ผลตอบแทนความเสี่ยงในการทำทุจริตไม่คุ้มค่าจะทำให้การโกง
                   จะลดลง ตราบใดที่ผลประโยชน์ตอบแทนความเสี่ยงในการทุจริตคุ้มค่าคนโกงก็ยัง

                   เสี่ยงเพราะเสี่ยงแล้วคุ้มค่า ทุจริตแล้วได้เป็นร้อยล้าน พันล้าน หมื่นล้าน คุ้มเงิน
                   ที่ได้จากการทุจริตก็จะยืนยันการทุจริต ดังนั้น ต้องออกแบบไม่ให้ผลตอบแทน
                   ความเสี่ยงคุ้มค่า คือ อยากโกงโกงไปแต่ไม่รอด โกงยังไงก็ไม่รอด จะโกงกันอีกได้

                   ไหม ทำอย่างไรไม่ให้ผลตอบแทนความเสี่ยงคุ้มค่า เช่น โอกาสรอดเกือบ 0 %
                   การยึดทรัพย์คือยึดทั้งหมด ไม่ต้องเหลือไว้ให้ลูกหลาน ทุกวันนี้เป็นไปในทาง
                   ตรงข้ามคนโกงยิ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ก็ไม่มีใครกล้าตรวจสอบ และยังเขียน




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 3
   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287   288