Page 289 - kpi18886
P. 289
281
2 เรื่องนี้เป็นกลไกใหม่ตามรัฐธรรมนูญและเป็นกลไกที่มีนัยว่าจะทำให้คดีล้นศาล
2 เรื่องนี้มีนัยสำคัญมาก ผมเชื่อว่าต่อไปนี้คดีจะไปศาลรัฐธรรมนูญ
เยอะมากขึ้น ในเยอรมันขนาดผ่านศาลอื่นมาแล้วยังมี 80 % ที่ไปถึง
ศาลรัฐธรรมนูญ และสำหรับของไทยไม่ได้กำหนด ซึ่งมาตรา 51 อาจจะผ่าน
กระบวนการกรองก่อนก็ได้ แต่เชื่อว่าจะมีคดีไปถึงศาลรัฐธรรมนูญจำนวนมาก
2. ปัญหาการบังคับให้เป็นไปตามสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
ปัญหาการบังคับใช้คือจะบังคับใช้อย่างไรให้สัมฤทธิ์ผลตามรัฐธรรมนูญ
มุ่งหมาย คือเรื่องสิทธิชุมชน (collective rights) ที่วางหลักมาตั้งแต่ปี พ.ศ.
2540-2560 แต่เป็นเพียงหลักการในรัฐธรรมนูญ จะให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างไร
ในรัฐธรรมนูญมาตรา 43 ระบุว่าบุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ (1) อนุรักษ์ฟื้นฟู
และส่งเสริมภูมิปัญญา (2) จัดการบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากร
ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามที่
กฎหมายบัญญัติ
ตั้งแต่ปี 2540 นั้นเกิดปัญหาในแบบหนึ่งคือ ม. 46 เขียนไว้ให้สิทธิชุมชน
เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติในช่วง 1 ทศวรรษ
ของการใช้สิทธิชุมชนหมดไปโดยไม่ได้ใช้ เพราะทั้ง 3 ศาล ไม่มีศาลใดตัดสินได้
เพราะไม่เกิดกฎหมายสิทธิชุมชนเพื่อบังคับใช้
รัฐธรรมนูญ 2550 จึงตัด “ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” ออกเพื่อ
แก้ปัญหาการอ้างการบัญญัติกฎหมายตามรัฐธรรมนูญในการไม่วินิจฉัยคดีสิทธิ
ชุมชนของศาล ซึ่งผลนำไปสู่การชนะคดีของการฟ้องร้องของกลุ่มเครือข่าย
ประชาชนในกรณีมาบตาพุด ที่ศาลปกครองสูงสุดตัดสินว่าการที่ไม่มีกฎหมาย
กำหนดรายละเอียดไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่ให้สิทธิตามบทบัญญัตินั้นๆ เพราะ
ประชาชนไม่ใช่ผู้ร่างกฎหมายรัฐต่างหากที่เป็นผู้ร่างกฎหมายเพราะฉะนั้นการที่
ไม่มีกฎหมายแล้วบอกว่าประชาชนไม่มีสิทธิไม่ได้ เพราะว่าสิทธิตามรัฐธรรมนูญ
ย่อมก่อตั้งขึ้นทันทีเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ
แต่อย่างไรก็ตามสิทธิชุมชนก็ยังมีข้อปัญหาโดยเฉพาะสิทธิชุมชนในการ
เข้าไปจัดการบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การประชุมกลุมยอยที่ 4