Page 287 - kpi18886
P. 287
279
ถ้าไปดูในหมวด 3 ว่าบุคคลมีสิทธิในเรื่องนี้ถามว่าผู้ทรงตามหมวด 3 คือ
บุคคล ปัจเจกบุคคล แต่ถ้าถามว่าผู้ทรงของหมวด 5 คือใคร ประชาชนคือใคร
เพราะฉะนั้นเราเห็นแล้วว่าผู้ทรงสิทธิใน 2 หมวดนี้ ไม่เหมือนกันหลักการในแง่
ของผู้ที่จะเร่งรัดติดตามจากรัฐไม่เหมือนกัน ในหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐ ถ้าให้
หมวด 5 จะเขียนว่ารัฐต้อง แสดงว่าอันนี้เป็นสิ่งที่บังคับเราเลย แต่หมวดใน
แนวนโยบายนั้นใช้คำว่า รัฐพึง
เพราะฉะนั้นข้อเรียกร้องของ 2-3 หมวดนี้จึงไม่เหมือนกัน
หมวดสิทธิเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลผู้ทรงสิทธิที่จะเรียกร้องจากรัฐ
หมวดหน้าที่เป็นเรื่องของประชาชน
หมวดแนวนโยบายของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐนั้นไม่สามารถฟ้องร้องได้
โดยตรง แต่เป็นสิทธิทางการเมืองที่จะเรียกร้องจากรัฐให้ทำตามแนวนโยบาย
ทั้ง 3 หมวด วางหลักที่เกี่ยวโยงกับสิทธิของประชาชนไม่เหมือนกัน และ
ต่างจากรัฐธรรมนูญเดิม
ประการที่ 2 มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญเป็นการบัญญัติครั้งแรกที่มีคำว่า
“การกระทำ” คำว่า “การกระทำ” นี้จะเชื่อมโยงกับมาตรา 213 ซึ่งเป็นกลไกใหม่
ที่ไม่เคยบัญญัติมาก่อน และเกิดคำถามต่อการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิ
เสรีภาพของประชาชนนั้น มีขอบเขตเพียงใด การกระทำของเอกชน การกระทำ
ขององค์กรทางนิติบัญญัติ การกระทำขององค์กรตุลาการ การกระทำขององค์กร
บริหาร การกระทำขององค์กรฝ่ายปกครอง ทั้งหมดนี้ใช่หรือไม่ แล้วจะเชื่อมโยง
อย่างไรไปยังศาลรัฐธรรมนูญ กลไกนี้ถ้าเครื่องกรองไม่ดีงานจะล้นศาล และถ้า
เครื่องกรองดีมากก็ไปศาลไม่ได้อีกเช่นกัน
แนวคิดของมาตรา 213 มีแนวคิดของประเทศที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่อง
ตรง 2 แนวคิด
แนวคิดแรกเป็น แนวคิดของประเทศเยอรมัน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญจะรับ
กรณีที่มีการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิโดยต้องฟ้องร้องกันในศาลอื่นจนถึงที่สุด
การประชุมกลุมยอยที่ 4