Page 290 - kpi18886
P. 290
282
และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนคืออะไร เพราะมิฉะนั้น
แล้วเมื่อประชาชนเข้าไปในพื้นที่ก็จะเป็นปัญหาโดยตลอด ประเด็นนี้จึงต้องให้
ชัดเจนถึงเป้าหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญว่ามุ่งที่จะทำให้เกิดผลการใช้สิทธิชุมชน
(collective rigths) อย่างไร และความต้องการบริหารจัดการทรัพยากร
สิ่งแวดล้อมของรัฐได้ดุลภาพกับสิทธิชุมชนอย่างไร
ดังนั้น ในขณะที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 สิทธิชุมชนไม่มีผลในการบังคับใช้
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 สามารถแก้ไขไปได้ แล้วรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 นั้น
จะทำให้เป็นรูปธรรมได้อย่างไรนี้เป็นประเด็นใหญ่
3. สิทธิในทางสิ่งแวดล้อมหรือเรื่องโครงการขนาดใหญ่
ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 อยู่ที่มาตรา 57 ในวรรค 2 ระบุว่าโครงการ
ขนาดใหญ่จะดำเนินการได้จะต้องผ่านกระบวนการ 4 เรื่อง คือ EIA HIA มีการ
รับฟังความคิดเห็น และมีหน่วยงานอิสระที่จะให้ความเห็น แต่ตราบจน
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ล้มไปยังไม่มีการตั้งหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ
กำหนดนั้นขึ้นมา เพราะฉะนั้นจึงย้อนกลับไปสู่ประเด็นเดิมอีกว่าเมื่อยังไม่มี
กฎหมายจะมีสิทธิหรือไม่ ประเด็นนี้ได้ยุติในช่วงของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ว่า
จะมีหรือไม่มีกฎหมายไปอ้างว่าสิทธิที่มันเกิดขึ้นในรัฐธรรมนูญไม่ใช้บังคับไม่ได้
ประเด็นที่ 1 สิทธิในรัฐธรรมนูญเรื่องสิทธิสิ่งแวดล้อม เรื่องโครงการขนาด
ใหญ่วันนี้อยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ ในมาตรา 58 บอกว่าการดำเนินการใดของรัฐ
ที่จะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชน
และชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องดำเนินการให้มีการศึกษาและ
ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน
และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชน
ที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาการดำเนินการหรือการตามที่
กฎหมายบัญญัติ เพราะฉะนั้นกฎหมายในมาตรา 58 เป็นหน้าที่ของรัฐซึ่ง
กฎหมายตามมาตรา 58 ในบทเฉพาะกาลกำหนดกรอบเวลาไว้อาจต้องออก
ภายใน 1 ปี ถ้าไม่ออกหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบจะเป็นอย่างไร และกฎหมาย
ที่จะออกเพื่อรองรับมาตรา 58 จะบรรลุความมุ่งหมายได้นั้น หลักการในเรื่องนี้
การประชุมกลุมยอยที่ 4