Page 288 - kpi18886
P. 288

280




               มาแล้ว เช่น ถ้าเป็นเรื่องศาลปกครอง ในคดีตำรวจสลายการชุมนุมหรือห้าม

               การชุมนุม ประชาชนไปฟ้องศาลปกครองพิจารณาจนถึงที่สุดแล้วจะใช้การตีความ
               ของศาลรัฐธรรมนูญกับสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมจึงไปศาลรัฐธรรมนูญ ในระบบนี้
               ของเยอรมันปรากฏว่าคดีที่ไปจากเรื่องร้องทุกข์รัฐธรรมนูญประมาณ 80-90%

               ขนาดว่าใช้ระบบต้องถึงศาลสูงสุดก่อนแล้วค่อยไปศาลรัฐธรรมนูญยังมีเรื่อง
               ประมาณ สองแสนกว่าเรื่อง ซึ่งต้องดูว่ากลไกของประเทศไทยวางระบบไว้อย่างไร
               จะให้ไปตรงได้เลยโดยไม่ผ่านกระบวนการอะไร หรือไม่จะเป็นอย่างไร


                     อีกระบบหนึ่งที่ร้องทุกข์ต่อศาลรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกันคือของออสเตรีย

               โดยมีการกำหนดบางขอบเขตไว้ว่าให้ไปศาลรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ต้องไปศาลสูงสุด
               แต่ของไทยไม่ได้กำหนดอะไรไว้ แต่ไปกำหนดไว้ในกฎหมายประกอบ ซึ่งกฎหมาย
               ประกอบศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะเข้า สภานิติบัญญัติแห่งชาติวาระ 2 ในวันที่ 23 นี้
               ก็ไปกำหนดล๊อคไว้จนเกือบไม่มีช่องทางไปโดยเขียนไว้ในมาตรา 40 กว่าๆ ดังนั้น

               กลไกนี้จะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่ อย่างไร เพราะการวางระบบ มาตรา 213 แล้วไปล็อค
               ยกตัวอย่างเช่น การกระทำของรัฐบาลไปไม่ได้ การกระทำที่อยู่ในศาลไปไม่ได้
               การบริหารงานบุคคลไปไม่ได้ การกระทำที่กฎหมายได้กำหนดกระบวนการขั้น

               ตอนไว้แล้วไปไม่ได้ ทั้ง 4 อันนี้ ก็คงพอเห็นแล้วจะมีอะไรที่ไปได้บ้าง เพราะทุก
               อย่างมีกฎหมายกำหนดกระบวนการขั้นตอนไว้หมดแล้ว ก็แทบไม่เห็นทาง นี้คือ
               กลไกใหม่ที่วางไว้ในมาตรา 5 ร่วมกับมาตรา 213


                     กลไกมาตรา 51 หมวดหน้าที่ของรัฐ ที่เป็นเรื่องใหม่ในกลไกนี้ให้ประชาชน
               มีสิทธิติดตามและฟ้องร้องได้ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

               แล้วหน่วยงานของรัฐไม่ทำตามหน้าที่ของรัฐจะไปศาลไหน ในพระราชบัญญัติว่า
               ด้วยศาลรัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญแล้วโดยบอกว่า
               เรื่องหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ ถือว่าอยู่ในเขตของศาลรัฐธรรมนูญ


                     แต่มีกลไกอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ 1. ต้องไปยื่นคำร้องผ่านผู้ตรวจการ

               แผ่นดินก่อน ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ
               หน่วยงานรัฐก็ให้ส่งไปที่ ครม.เพราะหน่วยงานที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามหน้าที่
               นี้คืออำนาจฝ่ายบริหาร ถ้าฝ่าย ครม. วินิจฉัยเห็นว่าทำตามหน้าที่หรือไม่ทำตาม
               หน้าที่อย่างไรแล้ว คนที่ร้องไม่พอใจจึงจะไปต่อที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้น





                   การประชุมกลุมยอยที่ 4
   283   284   285   286   287   288   289   290   291   292   293