Page 291 - kpi18886
P. 291
283
มีความเปลี่ยนแปลงบางประการจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 คือ “การดำเนินการ
ใดของรัฐที่จะอนุญาตให้ผู้ดำเนินการ ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากร
ธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของ
ประชาชนหรือชุมชน” ที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มมาหลักการเดิมคือ “หรือส่วนได้เสีย
สำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชน” นี้คืออะไร
ประเด็นที่ 2 จากเดิมใช้คำว่า “โครงการที่มีผลกระทบรุนแรง” แต่มาตรา
58 ใช้คำว่า “การดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ”
แสดงว่าทั้งรัฐและเอกชน การกระทำทั้งหมดจะอยู่ในความหมายของมาตรา 58
นี้ การกระทำทั้งหมดอาจมีผลกระทบแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น จะเห็นว่า
หลักการเปลี่ยนไปจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แต่หลักการนี้จะเป็นรูปธรรมและ
สัมฤทธิ์ผลหรือไม่ ต้องมีกฎหมายมารองรับ ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ
2 เรื่องนี้คือปัญหารูปธรรมของการบังคับใช้สืบเนื่องตั้งแต่ รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 ประเด็นจากหลักการจะกลายไปเป็นรูปธรรมได้อย่างไร แม้ว่าจะ
ผ่านไป 2 ทศวรรษแล้วก็ตาม ทั้ง 2 เรื่องนี้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของ
ประชาชนในวงกว้าง เพราะหากจัดสรรไม่ดี จะทำให้ชุมชน คนเล็กคนน้อย
เข้าไม่ถึงเพราะกฎหมายและข้อจำกัดต่างๆ ขณะที่ทุนจะเข้าถึงได้เพราะศักยภาพ
ของทุนเองอยู่แล้ว ท้ายสุดแล้วนี่คือวิถีชีวิต และ เศรษฐกิจของประชาชน นั้นคือ
เรื่องที่ต้องทำให้สิทธิกินได้ สิทธิคือวิถีชีวิต สิทธิคือความเป็นอยู่ของประชาชน
เรื่องที่ต้องทำให้เป็นรูปธรรมและมีดุลภาพ
สำหรับอีก 2 ประเด็นสำคัญและกระทบคนจนมากที่สุดคือสิทธิใน
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ฉะนั้นในปฏิรูป สตช. (สำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ) 2-3 ประการ คือ 1) กระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายที่จะไม่ให้มีต้นทุนสูง
ซึ่งจะทำให้คนที่ทำงานจริงไม่หมดกำลังใจ 2) ระบบงานสืบสวนสอบสวน
การแยกงานสืบสวนกับสอบสวนออกจากกัน ก็ทำให้เกิดระบบถ่วงกันได้ในระดับ
หนึ่ง ภายในการเติบโตก้าวหน้าของพนักงานสอบสวนที่อาจไม่จบจากโรงเรียน
นายร้อย 3) การถ่วงดุลระหว่างสอบสวนกับอัยการ นี้เป็นประเด็นมาตรฐาน
เพราะอัยการมีบทบาทสำคัญดูว่าหลักฐานเพียงพอที่จะนำไปฟ้องร้องได้หรือไม่
ระบบถ่วงดุลนี้จะมีส่วนช่วยกำจัดแพะออกจากระบบกระบวนการยุติธรรมทาง
การประชุมกลุมยอยที่ 4