Page 297 - kpi18886
P. 297
289
สายด่วน 1111 ไม่เสียค่าโทรศัพท์ มีคนรับสาย 24 ชม. ช่องทางที่ 2 คือตู้ ปณ.
1111 ไม่ต้องติดแสตมป์ เรื่องก็จะมาที่สำนักนายกรัฐมนตรีโดยตรง ช่องทางที่ 3
คือเว็บไซต์ www1111.go.th ช่องทางที่ 4 คือเดินทางมาร้องทุกข์ด้วยตัวเองที่
ทำเนียบรัฐบาล และได้พัฒนาไปถึงระบบสมาร์ทโฟน PSC 1111 Application
ร้องทุกข์ผ่านสมาร์ทโฟน
สิทธิในการร้องทุกข์ นอกจากร้องต่อสำนักนายกฯ แล้วยังมีเครือข่าย
เชื่อมโยงทั่วประเทศของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และ
หน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่น ประกาศของคณะกรรมการกระจายอำนาจ
กำหนดว่าท้องถิ่นต้องมีจุดให้ประชาชนเข้ามาใช้สิทธิในการร้องทุกข์ได้ และยังมี
เครือข่ายส่งต่อระบบรับเรื่องราวร้องทุกข์ 300-400 หน่วยงานที่อยู่ในระบบ
สรุป คือ ระเบียบว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ที่กำลังจัดการดำเนินการอยู่
ในเรื่องของมาตรฐานเรื่องราวร้องทุกข์ กำหนดอำนาจหน้าที่ในเรื่องราวร้องทุกข์
พัฒนาการบริหารจัดการ และการให้บริการ มีเครือข่ายและเจ้าหน้าที่ประจำ
ศูนย์ราชการเรื่องราวร้องทุกข์อยู่ทุกที่
3) สิทธิการมีส่วนร่วม ตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะต่อการบริหาร
ราชการแผ่นดิน รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 58 มีระเบียบว่าด้วยการรับฟัง
ความคิดเห็นและกำลังจะพัฒนาต่อไปถึงเรื่อง พรบ.การมีส่วนร่วมของประชาชน
ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ส่วนการมีส่วนร่วมในการสอดส่องการ
ดำเนินงานของรัฐของภาคประชาชนจะทำผ่านคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด
ในเรื่องหลักๆ คือการมีส่วนร่วมในการสอดส่องและให้ข้อเสนอแนะต่อการ
ดำเนินงานของรัฐซึ่งทำได้ 2 ทาง คือ รับฟังจากตัวแทนประชาชน และรับฟัง
ความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งมีระเบียบมา
ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 แล้วว่ารัฐจะทำโครงการใดๆ ต้องรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชน หลักการคือหน่วยงานของรัฐจะต้องจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ
โครงการรัฐและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่ถูกคือต้องให้ประชาชน
รับทราบการใช้สิทธิในการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อโครงการของรัฐ กระบวนการ
รับฟังความคิดเห็นของประชาชนมีหลายวิธีที่กำหนดไว้ในระเบียบ ทั้งการสำรวจ
ความคิดเห็น การสัมภาษณ์ การประชุมปรึกษาหารือ ประชาพิจารณ์ ประชุม
สาธารณะ กรณีที่หน่วยงานของรัฐมีผลกระทบอย่างรุนแรงหน่วยงานของรัฐ
การประชุมกลุมยอยที่ 4