Page 443 - kpi18886
P. 443
435
4. แนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นของ
องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) หน่วยงานต่าง ๆ เช่น สถานศึกษา
องค์กรปกครองท้องถิ่น ควรมีบทบาทอย่างจริงจังในการสร้างความรู้ความเข้าใจใน
เรื่องผลเสียของการทุจริตเลือกตั้ง 2) หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องควรนำเทคโนโลยี
ที่ก้าวหน้าเข้ามาใช้ในการรณรงค์การมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ควรให้ความรู้และปลูกจิตสำนึกอย่างจริงจังให้แก่บุคลากรในสังกัดให้มีส่วนในการ
ป้องปรามและรณรงค์แก้ปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง เช่น บุคลากรส่วนท้องที่
4) องค์กรควบคุมและจัดการเลือกตั้งควรเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้งเมื่อมีการเลือกตั้ง เพื่อเป็นการป้องปราม และจับตาดู
บุคคลเหล่านี้อย่างใกล้ชิด 5) ควรมีการปรับปรุง และแก้ไขข้อกฎหมาย และ
ระเบียบ โดยเพิ่มอำนาจให้องค์กรจัดการเลือกตั้งเช่นเดียวกับองค์กรอิสระอื่น
6) หน่วยงานสอบสวนทุจริตเลือกตั้งควรปรับปรุงการทำงานในชั้นสอบสวนให้มี
ความรวดเร็วยิ่งขึ้น 7) ควรให้ความสำคัญแก่บุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติงาน
ในชุดป้องปราม หาข่าว และประสานงานข่าว โดยคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม
มีกระบวนการให้ความรู้ปลูกฝังความคิดเกี่ยวกับการรทุจริตเลือกตั้ง
มีงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสม และเพิ่มวันปฏิบัติงานให้สอดคล้อง
กับสภาพความเป็นจริง
คำสำคัญ : การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี
Abstract
The study of corruption in local elections in Phetchaburi. The
purpose is to study the forms, methods and networks of local elections
fraud in Phetchaburi and to study ways to prevent and tackle corruption
elections of local organizations or agencies involved. The research
methods include interviews, observations in the province and document
reviews. Content analysis is used to analyze the qualitative data. Results
of this study reaches the following conclusions.
1. Form and methods of corruption in local elections in the
Phetchaburi is divided into two types: 1) direct election fraud including
vote buying, vote-buying, direct and indirect. Vote buying direct way is
บทความที่ผานการพิจารณา