Page 458 - kpi18886
P. 458
450
4. แนวทางในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง
ท้องถิ่นขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.1 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเลือกตั้ง การปกครองท้องถิ่น
สถานศึกษา ควรมีการบูรณาการอย่างจริงจังในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่
ประชาชนในเรื่องผลเสียของการทุจริตเลือกตั้งที่ส่งผลกระทบต่อสังคม
4.2 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาใช้ใน
การรณรงค์การมาใช้สิทธิเลือกตั้ง เช่น การใช้โซเชียลมีเดียในรูปแบบต่างๆ
4.3 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การปกครองส่วนท้องที่ซึ่งมี
เจ้าพนักงานของรัฐ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และอาสาสมัครต่างๆ ที่ใกล้ชิด
ประชาชน หน่วยงานต้นสังกัดควรให้ความรู้และ ปลูกจิตสำนึกอย่างจริงจังให้มีส่วน
ในการป้องปรามและรณรงค์ในการแก้ปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง เช่น การจัดการให้
ความรู้ อบรม ละลายพฤติกรรมให้ตระหนักถึงผลเสียของการทุจริตเลือกตั้ง
อย่างเข้มข้น และบุคคลเหล่านี้จะมีส่วนในการทำความเข้าใจกับประชาชนทั่วไป
อีกต่อหนึ่ง
4.4 เมื่อมีการเลือกตั้ง องค์กรดูแลจัดการเลือกตั้งควรเชิญบุคคล
ที่เกี่ยวข้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง โดยเฉพาะผู้สมัคร
หัวคะแนน เพื่อเป็นการป้องปรามและจับตาดู บุคคลเหล่านี้อย่างใกล้ชิด ซึ่งจะ
ทำให้การเคลื่อนไหวเพื่อซื้อเสียงเลือกตั้งทำได้ยากขึ้น
4.5 ควรปรับปรุงและแก้ไขข้อกฎหมายและระเบียบโดยเพิ่มอำนาจให้
องค์กรจัดการเลือกตั้ง เช่นเดียวกับองค์อิสระอื่น เช่น คณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) หรือ คณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่สามารถออกหมายเรียกบุคคลมาสอบสวนได้
4.6 หน่วยงานสอบสวนทุจริตเลือกตั้งควรปรับปรุงการทำงานในชั้น
สอบสวนให้รวดเร็วเพื่อมิให้คำร้องและคดีคั่งค้าง
4.7 ควรให้ความสำคัญแก่บุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในชุดป้องปราม
หาข่าว และประสานงานข่าว โดยคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม มีความเป็นกลาง
บทความที่ผานการพิจารณา