Page 460 - kpi18886
P. 460
452
ในงานวิจัยของอวิกากับการซื้อเสียงที่จังหวัดเพชรบุรี จะพบว่า การซื้อเสียงในการ
เลือกตั้งของท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหรือแหล่งท่องเที่ยวมีงบประมาณ
ในการบริหารและมีผลประโยชน์ในท้องถิ่นมากเป็นแรงจูงใจให้นักการเมืองต้องการ
ได้รับเลือกตั้ง ดังนั้นการทุจริตเลือกตั้งในท้องถิ่น ดังกล่าวจึงมีรูปแบบที่หลากหลาย
มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ และการซื้อเสียงที่รุนแรงเพื่อให้ชนะเลือกตั้ง ทั้ง
ชาวบ้านก็คุ้นเคยกับการซื้อเสียงและทุจริตเลือกตั้งในรูปแบบดังกล่าวเช่นเดียวกับ
ในพื้นที่ภาคตะวันออก
ในงานวิจัยของ อิสระ สุวรรณบล และคณะ (อิสระ สุวรรณบล, 2546)
ในประเด็นกลโกงในการเลือกตั้ง พบว่าเงินเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ได้รับ
การเลือกตั้ง โดยส่วนใหญ่ใช้ในการซื้อเสียงผ่านหัวคะแนน ซึ่งงานวิจัยดังกล่าว
วิเคราะห์สภาพการเลือกตั้งผ่านมาถึงกว่า 20 ปี สำหรับการทุจริตเลือกตั้งใน
จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งภาพรวมของการทุจริตมิได้แตกต่างกัน เงินยังคงเป็นปัจจัย
สำคัญสำหรับนักการเมืองในการได้มาซึ่งตำแหน่งในการเลือกตั้ง และที่สำคัญ
ประชาชนโดยทั่วไปก็มีความเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในระบบเลือกตั้งของไทย
ทุกระดับ ซึ่งในงานของ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (2535) กล่าวว่าการซื้อขาย
เสียงถูกยอมรับให้เป็นแบบแผนทางสังคมและเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองประเภท
หนึ่งแล้ว โดยเป็นปรากฏการณ์ที่ได้รับการยอมรับและผนึกแน่นอยู่ในวิธีคิด
(Way of Thinking) และวิถีชีวิต (Way of life) ของคนในสังคมไทย
ดังนั้นเมื่อพูดถึงการเลือกตั้งก็จะคิดถึงการซื้อขายเสียงเสมอ ซึ่งจากการศึกษา
การทุจริตเลือกตั้งในจังหวัดเพชรบุรีอาจกล่าวได้ว่า ค่านิยมการซื้อขายเสียงก็เป็น
ค่านิยมทางการเมืองส่วนหนึ่งในสังคมแล้วเช่นกัน
ในส่วนของเครือข่ายความสัมพันธ์ในการทุจริตเลือกตั้งนั้น พบว่าเครือข่าย
การทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นเพชรบุรีใช้ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์เป็นความ
สัมพันธ์หลัก ซึ่งในการทำความเข้าใจระบบการทุจริตเลือกตั้งให้ลึกซึ้ง จะพบว่า
วัฒนธรรมการเมืองเป็นบริบทสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเพราะเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่เกื้อหนุนส่งเสริมการทุจริตเลือกตั้งให้คงอยู่และขยายตัวจนเป็นวิถีชีวิต ฝังอยู่ใน
ระบบความคิดเป็นแบบแผนทางสังคมและเป็นวัฒนธรรมทางการเมือง
โดยวัฒนธรรมดังกล่าวคือ วัฒนธรรมในระบบอุปถัมภ์ซึ่งเป็นระบบที่มี
บทความที่ผานการพิจารณา