Page 459 - kpi18886
P. 459
451
ทางการเมือง มีกระบวนการให้ความรู้ปลูกฝังความคิดเกี่ยวกับผลเสียจาก
การทุจริตเลือกตั้ง มีงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย และเพิ่มวันปฏิบัติงานให้
สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติงานล่วงหน้าก่อนการเลือกตั้ง
มิใช่เพียงแค่ 2-7 วัน
สรุปและอภิปรายผล
เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบและวิธีการในการทุจริตเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัด
เพชรบุรี จะพบว่าการทุจริตเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นไม่ได้แตกต่างจากการเลือกตั้ง
ส.ส. ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา นักการเมืองถิ่นจังหวัดเพชรบุรี (ณัชชานุช
พิชิตธนารัตน์, 2554) ที่กล่าวถึงรูปแบบและวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของ ส.ส.
ที่พึ่งพาการทุจริตเลือกตั้ง โดยการซื้อเสียงเพื่อให้ได้รับเลือกตั้งเช่นกัน โดยมี
กลวิธีไม่แตกต่างกันนัก แต่จำนวนเงินในการซื้อเสียงต่างจากการเลือกตั้ง ส.ส.
และ ส.ว. โดยการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับล่างการแข่งขันสูง มีความรุนแรงมาก
และจำนวนเงินที่จ่ายในการทุจริตเลือกตั้งโดยเฉพาะการซื้อเสียงด้วยเงินสูงมาก
โดยตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นอันได้แก่ นายก อบต. และนายกเทศมนตรีในพื้นที่
ที่แข่งขันสูง จำนวนเงินที่จ่ายในการซื้อเสียงต่อ 1 เสียงจะสูงมาก หากใน
การเลือกตั้งของท้องถิ่นระดับ อบจ. การซื้อเสียงด้วยเงินจะมีจำนวนเงินต่อ
1 เสียงไม่สูงนักจะอยู่ที่ 150-200 บาท
ในงานของ อวิกา เอกทัตร (2549) ศึกษาถึงการซื้อสิทธิขายเสียงของ
พรรคการเมืองท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหนึ่งในเขตภาคตะวันออก
พบว่า พฤติกรรมในการซื้อเสียงแบ่งได้เป็น 5 รูปแบบ คือ 1) การซื้อหัวคะแนน
2) การซื้อสมาชิกฝ่ายตรงข้าม 3) การตัดผู้สมัครฝ่ายตรงข้าม และการสร้าง
ผู้สมัครเทียม 4) การจัดงานเลี้ยง และ 5) การซื้อตำแหน่งภายในพรรค
การซื้อสิทธิขายเสียงทุกรูปแบบใช้เงินเป็นสื่อกลางด้วยการซื้อหัวคะแนนทั้งของ
ตนเองและฝ่ายตรงข้าม โดยปัจจัยหลัก คือ การเข้ามาของการนิคมอุตสาหกรรม
แบบทุนนิยมและการจัดตั้งเทศบาล ทำให้เกิดความแพร่หลายของระบบเงินตรา
ในชุมชน เงินเป็นที่ต้องการ เมื่อมีกระบวนการซื้อเสียงชาวบ้านจึงขายเสียงได้
โดยง่าย และการจัดตั้งท้องถิ่น ท้องถิ่นกลายเป็นแหล่งผลประโยชน์จาก
งบประมาณ ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดการซื้อเสียง
บทความที่ผานการพิจารณา