Page 461 - kpi18886
P. 461
453
ผลประโยชน์อยู่ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ (อคิน ระพีพัฒน์, 2527
และ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, 2533, น. 12)
ซึ่งสำหรับในสังคมไทยจะพบว่า ระบบอุปถัมภ์ในเมืองไทยยังคงมีความ
สัมพันธ์กับระบบครอบครัวและเครือญาติ พบว่าในเครือข่ายการเมืองและ
การเลือกตั้งท้องถิ่นในเพชรบุรี ความเป็นญาติยังคงมีบทบาทสำคัญในการให้ความ
ช่วยเหลือในการทุจริตเลือกตั้ง เห็นได้จากผู้สมัครจำนวนมากที่มีญาติพี่น้อง
เป็นทีมงานหาเสียงเลือกตั้งและดำเนินการซื้อเสียงให้ อย่างไรก็ตาม ความเป็น
เพื่อน พรรคพวก และความเป็นเจ้านาย-ลูกน้อง ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบ
อุปถัมภ์ ที่เน้นความช่วยเหลือเกื้อกูลและจงรักภักดีกันเป็นพิเศษยังคงปรากฏใน
เครือข่ายการทุจริตเลือกตั้ง
ทั้งนี้จะพบว่า ในระบบอุปถัมภ์ การเป็นผู้นำจะต้องมีฐานทรัพยากรที่สำคัญ
ซึ่งในการเมืองท้องถิ่นของเพชรบุรี ฐานดังกล่าวคือ อำนาจรัฐ ตำแหน่งหน้าที่
สถานภาพทางสังคมหรือทักษะความรู้ต่างๆ และที่สำคัญที่สุดในการทุจริต
เลือกตั้งคือฐานทางด้านเศรษฐกิจและการเงิน และหลังจากนั้นแล้วระหว่าง
ผู้อุปถัมภ์และผู้ใต้อุปถัมภ์ ผู้นำหรือผู้ให้ความอุปถัมภ์จะต้องแสดงบทบาทที่สำคัญ
คือ การให้ความคุ้มครองหรือช่วย “เคลียร์” รวมถึงให้ความก้าวหน้าแก่ผู้รับ
อุปถัมภ์ เห็นได้จากเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันของนักการเมืองท้องถิ่น
ในระดับบนและระดับล่างทั้งในด้านการเงินและฐานเสียง รวมถึงนักการเมือง
ระดับชาติที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งมีทั้งพระเดช
และพระคุณ ตามลักษณะของลูกน้องและลูกพี่ จะพบว่าผู้ใต้อุปถัมภ์จะขาดฐาน
ทางทรัพยากรยกเว้นการมีแรงงานของตัวเองเพื่อการรับใช้ลูกพี่ผู้อุปถัมภ์
ดังนั้นผู้ใต้อุปถัมภ์จะมีค่านิยมที่สำคัญ คือ แนวคิดเรื่องบุญคุณ การรู้จักกตัญญู
ซื่อสัตย์จงรักภักดี (เจมส์ ซี สกอตต์ ; เจเรมี เคมพ์ ; ฮันส์ ดีเตอร์ เบ็คชเต็ด
อ้างถึงใน อมรา พงศาพิชญ์และปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2545)
อย่างไรก็ตามจะพบว่าในปัจจุบันระบบอุปถัมภ์แบบเก่าในสังคมไทย
ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสภาพการเมืองและการเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี
สอดคล้องกับแนวคิด James C. Scott (1972) ที่ชี้ให้เห็นถึงพลวัตรของระบบ
อุปถัมภ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
บทความที่ผานการพิจารณา