Page 462 - kpi18886
P. 462
454
1. ระยะเวลาของพันธะระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้ใต้อุปถัมภ์ ซึ่งในปัจจุบัน
จะพบว่าการสังกัดกลุ่มอุปถัมภ์ใดจะมีระยะเวลาไม่มากและเปลี่ยนแปลงโยกย้าย
กลุ่มได้ง่าย ในวัฒนธรรมการเมืองแบบเครือข่ายอุปถัมภ์จะเห็นได้ว่าการโยกย้าย
ของหัวคะแนนไปช่วยเหลือนักการเมืองใดก็ได้ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มที่เป็นคู่แข่งกัน
แล้วแต่ว่าใครจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
2. ขอบเขตการแลกเปลี่ยนทรัพยากร เดิมนั้นเกิดขึ้นหลากหลายในแทบ
ทุกมิติของชีวิต แต่ในแบบใหม่และในวัฒนธรรมการเมืองในการเลือกตั้งในปัจจุบัน
การแลกเปลี่ยน ก็เน้นทางด้านการเมือง อันได้แก่ตำแหน่งทางการเมือง หรือ
ผลตอบแทนที่เป็นเงิน
3. ฐานทรัพยากร ดั้งเดิมนั้นฐานจะอยู่ภายในชุมชนและตัวผู้อุปถัมภ์
แต่ระบบอุปถัมภ์แบบใหม่ ฐานทรัพยากรจะเชื่อมโยงกับภายนอกชุมชน ระบบ
การเมืองและระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและอาจสัมพันธ์กับนักการเมืองภายนอก
ชุมชน อันเห็นได้จากการระดมทุนในการซื้อเสียง จากเครือข่ายการเมืองจาก
นอกพื้นที่ และเชื่อมโยงกับนักการเมืองระดับชาติทั้งในและนอกพื้นที่
4. ในการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้ใต้อุปถัมภ์ พบว่าในแบบ
ดั้งเดิมความรู้สึกเชิงบุญคุณเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน ส่วนผลตอบแทน
ที่เป็นรูปธรรมนั้นมีความสำคัญรองลงมา แต่ในปัจจุบันผลตอบแทนเรื่องเงินและ
วัตถุสำคัญที่สุด อันพบได้จากวัฒนธรรมการซื้อเสียงที่เกิดขึ้น เช่น กรณี
การเปลี่ยนแปลงการทำงานให้กับนักการเมืองของหัวคะแนน
ข้อเสนอแนะ
จากการศึกษา ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 2 ประเด็นดังนี้
1. ข้อเสนอสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ซึ่งจากการศึกษา พบว่าการจัดให้
มีองค์กรกลางเพื่อจัดการเลือกตั้งตั้งแต่รัฐธธรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา
การทุจริตเลือกตั้งระดับ ส.ส. ส.ว. แม้จะยังมีอยู่แต่กระทำได้ยากขึ้น หากการ
ทุจริตเลือกตั้งระดับท้องถิ่นรุนแรง และใช้เงินมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งควรมีการวิจัย
ในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ถึงสาเหตุ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น
และความรุนแรงของการทุจริตเลือกตั้งว่าเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่มากน้อยเพียงใด
บทความที่ผานการพิจารณา