Page 468 - kpi18886
P. 468
460
ตลอดมาก็ตาม แต่ระยะเวลาการคงอยู่ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า กำนัน
ผู้ใหญ่บ้านยังคงเป็นตัวกลางคนสำคัญระหว่างรัฐ และชาวบ้านตลอดมา
เมื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่รัฐต้องการที่จะให้เกิดขึ้นนั้น จำเป็นที่รัฐ
จะต้องประสานงานทำงานร่วมกันกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านให้เป็นผู้นำนโยบายรัฐไปสู่
ประชาชน และพื้นที่ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และมีผลสัมฤทธิ์ตามที่
รัฐคาดหวัง ซึ่งผู้เขียนขอเสนอกลไกของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่จะขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติ 6 ประการ คือ 1) การปฏิบัติกิจในฐานะที่เป็นกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งต้องปฏิบัติภารกิจตามที่กฎหมายกำหนด 2) กลไกการสร้างพื้นที่
การสื่อสารร่วมกัน สร้างความเข้าใจเพื่อประสานงานประชาชนในพื้นที่ 3) เป็น
สถาบันหลักๆ ของท้องที่ระดับจุลภาค ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบูรณาการ
ระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ มาสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด และวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน และ
บริหารกิจกรรมที่ดำเนินในหมู่บ้าน หรือพื้นที่ให้บูรณาการสอดคล้องกัน
4) บทบาทหน้าที่ผู้นำเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชนเชื่อมโยง
ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง 5) กลไกที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความสัมพันธ์กับ
ระบบราชการ และการเมืองระดับชาติ 6) การใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน
เป็นการใช้กลไกที่มีอยู่เดิมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ โดยทั้ง 6 ประการข้างต้น
ยึดเหตุผลประการสำคัญที่ว่า การพัฒนาหมู่บ้านเป็นการพัฒนาที่ต้องช่วยเหลือ
ร่วมมือกัน และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันทำงาน สร้างความผูกพันร้อยรัก
คนในหมู่บ้านด้วยการร่วมใจทำงานเพื่อพัฒนาแหล่งที่ตนอยู่อาศัย และอาจกล่าว
ได้ว่ากลไกคณะกรรมการหมู่บ้านนี้เป็นผลพวงของระบบราชการที่ต้องการเข้าไป
มุ่งหยั่งรากลึกไปในระดับชุมชนหมู่บ้าน ผ่านช่องทางเครือข่ายกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ฉะนั้น ด้วยเหตุผลนี้เองกำนันผู้ใหญ่บ้านจึงเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติ
คำสำคัญ ; บทบาทกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน, ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
Abstracts
This Article is study to examine on role of VILLAGE HEADMAN
in implementation of national Strategy which is analyze in challenges
and possible in a role according to the national Strategy. The data was
analyzed using documentary research in research paper legal provision
บทความที่ผานการพิจารณา