Page 473 - kpi18886
P. 473

465




                   การนำนโยบายไปปฏิบัติโดยระบบราชการนั้น (Bureaucratic) เป็นการพยายาม

                   มองสภาพความเป็นจริงทางสังคม โดยที่มีความเชื่อว่าอำนาจขององค์การไม่ได้อยู่
                   ในตำแหน่งอย่างเป็นทางการแต่อยู่กระจัดกระจายภายในองค์การ กล่าวคือ
                   สมาชิกในองค์การทุกคนมีอำนาจในการใช้วิจารณญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                   ข้าราชการซึ่งมีหน้าที่ต้องติดต่อให้บริการประชาชน โดยที่ผู้บังคับบัญชาไม่อาจ
                   ควบคุมได้ การส่งนโยบายใหม่ๆ ที่จะไปกระทบ หรือเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวัน
                   ของข้าราชการเหล่านี้จะไม่มีผลนอกจากที่ข้าราชการจะยอมรับ หรือปรับนโยบาย

                   แนวทางปฏิบัติเหล่านี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ประจำวัน ดังนั้นความล้มเหลว
                   ของการนำนโยบายไปปฏิบัติไม่ใช่เรื่องที่เป็นการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
                   แต่เกิดจากผู้กำหนดนโยบาย หรือผู้บริหารนโยบายไม่เข้าใจสภาพความเป็นจริง

                   ในการปฏิบัติในหน่วยงานราชการมากกว่า (วรเดช จันทรศร, 2551, น. 138)
                   โดยความพร้อมในการนำนโยบายไปปฏิบัติเกิดขึ้นจากปัจจัย 2 ประการ คือ
                   ประการแรก ระดับความเข้าใจของผู้กำหนดนโยบายต่อสภาพความเป็นจริงของ

                   หน่วยงานองค์การ สภาพปัญหา และข้อจำกัดด้านต่างๆ และประการที่สอง
                   ระดับการยอมรับ เห็นพ้องในนโยบาย และการปรับนโยบายใหม่ ให้สอดคล้องกับ
                   ภารกิจปกติหรือเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ราชการของบุคลากรทุกคนต้องทำ


                   แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้าน

                         ตำบล หมู่บ้าน เป็นหน่วยการปกครองที่เล็กลงจากอำเภอ และถือว่า

                   เป็นการสิ้นสุดของหน่วยงานปกครอง การปกครองตำบล หมู่บ้านนี้มีลักษณะ
                   แตกต่างจากองค์กรอื่นๆ อยู่มาก เช่น สถานะการดำรงตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐ
                   กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่อย่างไรก็ตาม กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นอกจากจะเป็นผู้แทน
                   ของประชาชนในตำบล หมู่บ้านแล้ว กำนัน ผู้ใหญ่บ้านก็ยังมีหน้าที่เป็นตัวแทน

                   ของรัฐด้วย เพราะเมื่อประชาชนได้ทำการเลือกกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแล้ว ระบบ
                   ราชการโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกหนังสือสำคัญรับรู้ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

                   จึงจะมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบในหมู่บ้าน
                   และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในท้องที่ จึงอาจกล่าวได้ว่ากำนันผู้ใหญ่บ้าน
                   เป็นชนชั้นนำในท้องถิ่น และมีเกียรติภูมิไม่น้อย ซึ่งในสมัยก่อนผู้ใดได้เป็นกำนัน
                   ผู้ใหญ่บ้าน จะได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพัน อย่างสูงเป็นขุน ย่อมแสดงให้เห็นว่า







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   468   469   470   471   472   473   474   475   476   477   478