Page 471 - kpi18886
P. 471
463
หากพิจารณาถึงการทำหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านนั้น ถือว่าเป็น
การปกครองท้องที่ กล่าวคือ เป็นการจัดการปกครองดินแดน หรือพื้นที่ของรัฐ หรือ
ของรัฐบาลกลาง (Territorial Administration by State/Government) ซึ่งมีความ
สำคัญ และมีความจำเป็นต่อการรักษากฎหมาย และความสงบเรียบร้อยของ
ประเทศ การจัดการปกครองท้องที่นี้ขึ้นอยู่กับระดับการรวมอำนาจ รวบอำนาจไป
ยังส่วนกลางมากน้อยแค่ไหน และเจ้าหน้าที่นั้น ๆ จะเป็นราชการส่วนภูมิภาค
(นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ, 2546, น.5) ซึ่งอย่างในกรณีประเทศไทย
การปกครองท้องที่ ก็คือ หน่วยการปกครองที่เรียกว่าตำบล และหมู่บ้านนั่นเอง
เมื่อพิจารณาคำนิยามของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ถือว่าเป็นผู้แทนของรัฐอันเป็น
ส่วนหนึ่งของโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่มีจังหวัด และอำเภอ
เป็นโครงสร้างส่วนบนอีกชั้นหนึ่ง มีฐานะเป็นผู้แทนของรัฐคือราชการส่วนกลาง
และราชการส่วนภูมิภาคโดยปฏิบัติงานอยู่ในระดับล่างสุดของรัฐ แต่อยู่ใกล้ชิด
สนิทกับประชาชนในท้องที่ต่างๆ มีหน้าที่สำคัญๆ คือช่วยเรื่องการประสานงาน
ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมในหมู่บ้านและการแจ้งข่าวสารนโยบายของทาง
ราชการให้ประชาชนทราบ ในขณะเดียวกันกำนัน ผู้ใหญ่บ้านนั้นก็มีสถานะ และ
บทบาทเป็นผู้แทนประชาชน เป็นผู้นำชุมชนเนื่องด้วยไม่มีสถานะเป็นข้าราชการ
ของรัฐเต็มตัว ทั้งยังไม่ได้ทำงานให้แก่ราชการเต็มเวลา (ไททัศน์ มาลา, 2559,
น.4) บทบาท และหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านดังกล่าวนี้ย่อมส่งผลให้กำนัน
ผู้ใหญ่บ้านย่อมมีความสัมพันธ์กับกรอบยุทธศาสตร์ชาติอย่างเห็นได้ชัด
หากต้องการนำไปเป็นกรอบในการวางแผน วางนโยบาย เพื่อให้ประสบความ
สำเร็จได้จริง กลไกเช่นนี้ย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่ง
วิธีการศึกษา
การศึกษาบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านกับการนำยุทธศาสตร์ชาติไปปฏิบัติ
เป็นการวิเคราะห์ถึงความท้าทาย และสิ่งที่ควรจะเป็นของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ในบริบทการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืนตาม “ยุทธศาสตร์ชาติ” โดยใช้
วิธีการวิจัยเอกสารที่เป็นข้อมูลรายงานวิจัย ตัวบทกฎหมาย และยุทธศาสตร์ชาติ
โดยมุ่งเน้นไปที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นหลัก อีกทั้งมีการนำบทสัมภาษณ์เพื่อนำมา
ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล และตอบคำถามว่า บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
บทความที่ผานการพิจารณา