Page 525 - kpi18886
P. 525

517




                   ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม” โดยมิได้ระบุถึงบทบาทหรือขอบเขตอำนาจ

                   การเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชน รวมถึงสัดส่วนของที่นั่งของภาคประชาชน
                   หรือภาคประชาสังคมในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ จึงควรมี
                   การกำหนด “สัดส่วนภาคประชาสังคม” เข้าไปในกรรมการและอนุกรรมการ

                   ด้านต่างๆ ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติให้ชัดเจน อาจจะใช้ระบบของ
                   คณะกรรมการสามฝ่าย (tripartite) ในการดำเนินการ


                         2. การดำเนินการในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิบัตินั้น ควรเปิด
                   กระบวนการแก้ไขปัญหายุทธศาสตร์ชาติด้วยการปรึกษาหารือ (deliberative

                   solution generation) ของทุก ๆ ภาคส่วน ด้วยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมแบบ
                   ล่างขึ้นบน (bottom-up) (บทเรียนจากประเทศโคลัมเบีย) โดยจัดให้มีเครือข่าย
                   ในลักษณะการเคลื่อนไหวจากนอกสถาบันการเมือง อาศัยกลไกของสถาบัน
                   การเมืองในการมีส่วนร่วม เช่น การเปิดช่องให้กลุ่มการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมใน

                   การเมืองเชิงสถาบันในการปฏิรูปกฎหมายใหม่อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลง
                   ตามยุทธศาสตร์ชาติ ส่งเสริมบทบาทและเปิดโอกาสแก่คนรุ่นใหม่ นิสิตนักศึกษา
                   และสื่อมวลชนในเข้ามาเคลื่อนไหวหรือมีส่วนร่วมในการอภิปรายถกเถียง

                   ในกระบวนการแก้ไขปัญหายุทธศาสตร์ชาติ เป็นต้น และการดำเนินการตาม
                   ยุทธศาสตร์ชาติ จำเป็นต้องมีการหา “ประชามติ” จากประชาชน โดยอาจจัดให้มี
                   การทำประชามติในกฎหมาย นโยบาย หรือประเด็นสำคัญจากยุทธศาสตร์ชาติ

                   พร้อมกันในวันเลือกตั้งได้ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งและประชามติ
                   ไปด้วยกัน โดยใช้งบประมาณและบุคลากรจัดการเพียงครั้งเดียว (สิริพรรณ และ
                   วีระ, 2554)


                         3. ยุทธศาสตร์ชาติควรเพิ่มหลักการเกี่ยวกับ “พหุนิยมทางการเมือง”
                   เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มและสถาบันต่าง ๆ ในสังคม

                   เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่สร้างผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาประชาธิปไตย
                   ในประเทศไทย บทเรียนจากประเทศมอลโดวาแสดงให้ว่าการให้ความสำคัญกับ
                   หลักการพหุนิยมทางการเมืองภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติของประเทศ ก่อให้เกิดการ

                   ยอมรับต่อคุณค่าของความหลากหลายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคมและสามารถ
                   สร้างการมีส่วนร่วมจากกลุ่มบุคคลหลากหลายกลุ่ม ภายในยุทธศาสตร์ชาติ
                   เดียวกัน โดยเริ่มจาก “การลดข้อจำกัดทางกฎหมาย” ในการแสดงความคิดเห็น




                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   520   521   522   523   524   525   526   527   528   529   530