Page 522 - kpi18886
P. 522
514
คณะรัฐมนตรีจัดให้มีกฎหมายตามมาตรา 65 วรรคสอง ให้แล้วเสร็จภายใน
หนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ และดำเนินการจัดทำ
ยุทธศาสตร์ชาติให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับ”
นอกจากนี้ แผนยุทธศาสตร์ชาติยังได้ให้อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา ในฐานะ
กลุ่มบุคคลผู้พิจารณาแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อบังคับใช้ ติดตามและเสนอแนะ
ตามมาตรา 270 ตามรัฐธรรมนูญ “ให้วุฒิสภา ตามมาตรา 269 มีหน้าที่และ
อำนาจติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์
ชาติ ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรี แจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผน
การปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาเพื่อทราบทุกสามเดือน”
ข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญใหม่จึงทำให้เกิดกฎหมายลำดับรองอย่าง พระราช
บัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติแผนและ
ขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ผ่านการตั้งคณะกรรมการ
ยุทธศาสตร์ชาติ ถูกกำหนดขึ้นทั้งจากเข้ามาปฏิบัติหน้าที่โดยตำแหน่งและ
คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง (สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จำนวน 17 คน) ซึ่งกลุ่มผู้ที่
เข้ามาปฏิบัติหน้าที่โดยตำแหน่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มกองทัพทหารตำรวจและ
กลุ่มภาคธุรกิจ ส่วนที่มาของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เกิดจากคณะรัฐมนตรี
เป็นผู้กำหนดพิจารณาแต่งตั้งขึ้น ซึ่งจากการพิจารณาถึงที่มาและสัดส่วนของ
กลุ่มผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการทั้งสองชุดก็จะพบว่า กลุ่มผู้ดำรงตำแหน่ง
คณะกรรมการเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นจากอำนาจของคณะรัฐมนตรีในการพิจารณา
แต่งตั้ง ผสมรวมกับกลุ่มกองทัพและกลุ่มภาคธุรกิจเอกชนในการพิจารณา
แผนยุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศ โดยที่ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบในการ
แต่งตั้งจากประชาชนหรือรัฐสภา (ผู้จัดการออนไลน์, 2560; พงศ์ บัญชา,
2560)
อย่างไรก็ดี ปัญหาพื้นฐานของกฎหมายเชิงสถาบันที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์
ชาติคือเรื่องของ “การมีส่วนร่วม” โดยสำหรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ได้มีการ
กำหนดถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ต่อกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
ที่เป็นผลประโยชน์ต่อชาติและส่วนรวมตาม มาตรา 7 (3) ที่ระบุว่า “การให้
บทความที่ผานการพิจารณา