Page 524 - kpi18886
P. 524

516




               ขบวนการทางการเมืองอื่นๆ ที่มีส่วนในความขัดแย้งทางการเมืองไทยในการเข้ามา

               ร่วมอยู่ในยุทธศาสตร์ชาติหลังรัฐธรรมนูญใหม่ได้ ข้อจำกัดดังกล่าวจึงน่าจะ
               พิจารณาบทเรียนของโคลัมเบียที่เปลี่ยนคู่ขัดแย้งให้เป็น “คู่แข่งในกติกา
               เดียวกัน” หรือมอลโดวาที่ให้ “พหุนิยมทางการเมือง” เพื่อทำให้ยุทธศาสตร์ของ

               ประเทศและการปฏิรูปรัฐธรรมนูญนำไปสู่ประชาธิปไตยที่อยู่ภายใต้กติกาเดียวกัน
               ได้ หากประเทศไทยต้องวางยุทธศาสตร์เพื่อไปสู่ประชาธิปไตย จึงมิอาจปฏิเสธ
               การให้อำนาจการจัดการปกครองแบบมีส่วนร่วม ไปได้


               5. บทสรุป

                     บทความนี้ได้ใช้กรอบการศึกษาการให้อำนาจการจัดการปกครองแบบ

               มีส่วนร่วม (EPG) เพื่อมองยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปรัฐธรรมนูญของ
               โคลัมเบียและมอลโดวา ที่สนใจเรื่องของ “การแบ่งปันอำนาจ” และ “การมี
               ส่วนร่วมเชิงสถาบัน” จากทั้งขบวนการทางการเมืองและพหุนิยมทางการเมือง

               ทำให้ทั้งสองประเทศเป็นประเทศประชาธิปไตยใหม่ที่มีแนวโน้มการพัฒนาทาง
               การเมืองในระดับที่ดี บทเรียนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่ประเทศที่มี
               สงครามกลางเมือง ปัญหาความขัดแย้งทางอัตลักษณ์ และสังคมที่แตกแยก

               แต่หากสามารถสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมที่ทุกคนเข้าถึง (inclusiveness)
               ก็สามารถพัฒนาประชาธิปไตยให้ยั่งยืนและอยู่ภายใต้กติกาเดียวกันได้


                     จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถถอดบทเรียนมาเป็น “ข้อเสนอแนะ” ให้กับ
               ตัวแสดงทางการเมืองจากยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปรัฐธรรมนูญของประเทศ
               โคลัมเบียและมอลโดวา แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการสร้างการมีส่วนร่วม

               ของภาคส่วนต่าง ๆ ผ่านการสร้างสถาบันทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย
               จากบทเรียนดังกล่าวสามารถนำมาเป็นข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมใน
               ยุทธศาสตร์ชาติของประเทศไทยได้ ดังต่อไปนี้


                     1. ภาครัฐควรสร้างแนวทางการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในยุทธศาสตร์
               ชาติแบบบนลงล่าง (top-down) ผ่านหลัก “การแบ่งปันอำนาจ” (บทเรียนจาก

               ประเทศโคลัมเบีย) ด้วยการระบุถึงตำแหน่ง บทบาทและขอบเขตอำนาจการเข้า
               มามีส่วนร่วมของภาคส่วนอื่นๆ ร่วมกับภาครัฐอย่างชัดเจน เนื่องจากบทบาทและ
               ขอบเขตอำนาจการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนถูกระบุเพียงแค่ “การให้




                    บทความที่ผานการพิจารณา
   519   520   521   522   523   524   525   526   527   528   529