Page 523 - kpi18886
P. 523

515




                   ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การจัดทำยุทธศาสตร์

                   ชาติ รวมทั้งการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และความเป็นเจ้าของยุทธศาสตร์ชาติ
                   ร่วมกัน” แต่ในบางขั้นตอนและบางกระบวนการของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
                   ได้ละเลยถึงการให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังตัวอย่าง

                   จะเห็นได้จากกรณีของบทเฉพาะกาล ตามมาตรา 28 (3) ที่ระบุว่า “ให้ถือว่า
                   การรับฟังความคิดเห็นที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติตามมติ
                   คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และสำนักงานได้ดำเนินการ

                   ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นการดำเนินการตามมาตรา 8 (1) แล้ว
                   แต่ไม่เป็นการตัดอำนาจที่จะดำเนินการให้มีการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม”
                   ซึ่งถือว่าเป็นการให้ความสำคัญต่อความคิดเห็นที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์

                   ชาติที่เกิดขึ้น ส่วนความคิดเห็นของประชาชนอาจเกิดขึ้นได้ในลักษณะของ
                   การดำเนินการ การรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมโดยคณะกรรมการจัดทำ
                   ยุทธศาสตร์ชาติ (พงศ์ บัญชา, 2560)


                         ประกอบกับข้อจำกัดในการ “ตรวจสอบและประเมินผล” ที่อยู่ภายใต้
                   การเมืองแบบสถาบันของคณะรัฐมนตรีและวุฒิสภาเท่านั้น ขบวนการทาง

                   การเมืองอื่นไม่สามารถเข้ามาร่วมติดตามการทำงานของยุทธศาสตร์ชาติได้
                   โดยหลักการหนึ่งที่สำคัญของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูป
                   ประเทศ ได้แก่ หลักการธรรมาภิบาล ซึ่งส่วนหนึ่งถูกนำมาใช้ในการกำหนด

                   การตรวจสอบและประเมินผลภายใต้แผนทั้งสอง โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็น
                   ผู้พิจารณากรอบระเบียบการประเมินและตรวจสอบ รวมถึงการให้อำนาจต่อ
                   คณะรัฐมนตรีและวุฒิสภาในการตรวจสอบ และประเมินการปฏิบัติงานของ

                   คณะกรรมการที่เกิดขึ้นในแผนทั้งสอง และหน่วยงานทุกหน่วยงานที่ผูกพันกับ
                   แผนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งหน่วยงานใดไม่จัดทำหรือละเลยต่อการจัดทำตาม
                   แผนยุทธศาสตร์ คณะรัฐมนตรีและวุฒิสภามีอำนาจเสนอและส่งต่อให้

                   คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาและลงโทษ
                   ต่อไป ซึ่งพระราชบัญญัติทั้งสองที่เกิดขึ้น ถือเป็นการให้อำนาจแก่คณะรัฐมนตรี
                   และวุฒิสภาในการกำหนดกรอบตรวจสอบและประเมินหน่วยงานต่างๆ ได้


                         ดังนั้น ปัญหาในการมีส่วนร่วมและการตรวจสอบประเมินผล จะพบว่า
                   ยังขาดการให้อำนาจการจัดการปกครองแบบมีส่วนร่วม (EPG) กับกลุ่มหรือ




                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   518   519   520   521   522   523   524   525   526   527   528