Page 81 - kpi18886
P. 81
73
ในหัวข้อของการประชุมวิชาการครั้งนี้ ในฐานะนักวิชาการ และนักปฏิบัติ
ทางด้านเศรษฐศาสตร์และพัฒนาการระหว่างประเทศ ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
หมายความว่าประชาธิปไตยเสรีนิยมที่มีเสถียรภาพซึ่งจะเกี่ยวกับสิทธิ 3 ประการ
ด้วยกัน 1) สิทธิทางเศรษฐกิจ เช่น สิทธิในทรัพย์สิน 2) สิทธิทางการเมือง เช่น
การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม รวมทั้งการยอมให้ผู้ชนะ
(การเลือกตั้ง) เป็นผู้ตัดสินใจและเป็นผู้กำหนดนโยบาย 3) สิทธิของพลเมือง
เช่น การมีความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย และการก้าวพ้นการเมือง ผมขอมอง
หัวข้อที่ซับซ้อนนี้จากมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ เพราะการเมืองและเศรษฐศาสตร์
มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทั้งอย่างลึกซึ้ง ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ด้วยรากฐานของ
เศรษฐศาสตร์ทั้งอดัมส์ สมิท และ จอห์น สจ๊วต เรียกว่าเศรษฐศาสตร์การเมือง
มุมมองทางเศรษฐศาสตร์จึงเป็นมิติที่จำเป็นของประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
ข้อเสนอ 5 ข้อที่มาสนับสนุนสิ่งที่อยากจะกล่าวตามลำดับ ดังนี้
ข้อ 1 ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนและการเมืองที่ยั่งยืนและมีเสถียรภาพ จะต้อง
อยู่บนรากฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแรง
ข้อ 2 เพื่อให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนประเทศไทยจะต้องรับ
กับเปลี่ยนทางโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ข้อ 3 ความไม่มั่นคงและความตึงเครียดระหว่างการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ระยะยาวของเศรษฐกิจและประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
ข้อ 4 ความไม่สอดคล้องกัน ความตึงเครียด และความท้าทายในสภาพ
แวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกที่มีแต่ความวุ่นวายและไม่แน่นอน
ข้อ 5 ความท้าทายหลักต่อประชาธิปไตยที่ยั่งยืนจะต้องมีความมั่นคงทาง
นโยบาย
ข้อ 1 ประชาธิปไตยที่ยั่งยืนและการเมืองที่ยั่งยืนและมีเสถียรภาพ จะต้องอยู่
บนรากฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแรง
โดยทั่วไปแล้วระบบทางการเมืองที่มีเสถียรภาพและมีความยั่งยืนจะต้องอยู่
บนรากฐานของเศรษฐกิจที่มีความแข็งแรง ผมไม่อาจกล่าวได้ว่าคุณค่าทาง
ปาฐกถานำ