Page 86 - kpi18886
P. 86
78
มหาวิทยาลัยและภาคเอกชน การเปลี่ยนแปลงระดับสถาบันจะต้อง
เป็นไปอย่างถ้วนหน้าและร่วมมือกัน มีการกระจายอย่างเท่าเทียมกัน
ทั้งด้านต้นทุนและผลประโยชน์ ต้องมีกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับประโยชน์
โดยตรงจากโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ
เข้าร่วมด้วย
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจะต้องมีการแบ่งปันผลประโยชน์และต้นทุนอย่าง
สม่ำเสมอและให้แน่ใจว่าเส้นทางในการพัฒนาจะมีการพัฒนาคุณภาพของ
ประชากรส่วนใหญ่ ผมขอเน้นอีกครั้งว่าผมเชื่อว่าผลการเปลี่ยนแปลงของ
เศรษฐกิจไทยตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ประเทศไทย 4.0 และ EEC เป็น
สิ่งที่จำเป็น การปฏิบัติตามแผนและมุ่งเน้นที่การนำไปสู่ความสำเร็จ จะต้องมี
ทรัพยากรที่สำคัญ ใช้ความพยายามร่วมกันและมีกระบวนการระยะยาว และ
ความต้องการอย่างมีนัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ก็จะต้องมีการ
สร้างและรักษาฉันทมติทางสังคมและการปรับตัวทางระบอบการเมืองด้วย
สำหรับประเด็นที่ 3 แนวโน้มความไม่มั่นคงและความตึงเครียดระหว่าง
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระยะยาวของเศรษฐกิจและประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
ผลประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียมกันเกี่ยวกับโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงของ
เศรษฐกิจต้องต่อสู้กับความไม่แน่นอนของระยะเวลาและความไม่แน่นอนของ
กระบวนการทางการเมือง การเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงความคาดหวังของสังคม
โดยทั่วไป ในทศวรรษ 1970-1990 การพัฒนาเอเชียตะวันออกเจริญเติบโตเป็น
ศูนย์กลางการเจริญเติบโตและและมีความสามารถในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
มีนโยบายทางการเมืองที่โอโน่ จากประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า “ลัทธิแบบอำนาจนิยม
ซึ่งมีขีดความสามารถในการพัฒนา” ขณะที่ความชอบธรรมทางการเมืองไม่มี
แต่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและประสบความสำเร็จ ข้อโต้เถียงของรัฐ
ที่เข้มแข็งหรือลัทธิการพัฒนาแบบอำนาจนิยมแบบเอเชียตะวันออกนี้ คือ การมี
ส่วนร่วมในแผนการพัฒนาระยะยาว การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนา
และการประสานงานกันปฏิบัติตามแผนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
การพัฒนาแบบอำนาจนิยมเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านซึ่งอาจจะอยู่ได้
2-3 ทศวรรษ เพราะข้อด้อยของการพัฒนาโดยอำนาจนิยมคือไม่มีกลไกในการ
ปาฐกถานำ