Page 83 - kpi18886
P. 83

75




                   ทางการเมืองของเรา สำหรับการเกิดขึ้นของประเทศจีนและการประสบความ

                   สำเร็จของประเทศสิงคโปร์นับเป็นรูปแบบทางเลือกของการจัดระบบเศรษฐกิจของ
                   รัฐที่ไม่ยึดติดกับการปกครองแบบระบอบเสรีนิยม เส้นทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน
                   นี้เกิดผลกระทบต่อสถาบันทางการเมืองได้อย่างไรจะได้กล่าวในภายหลัง


                   ประเด็นที่สอง การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนประเทศไทย
                   จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจในระยะยาว


                         ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างน่าทึ่งทาง
                   เศรษฐกิจ ความสำเร็จนี้ขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มั่งคั่งและการขับเคลื่อนด้วยแรงงาน

                   ที่มีค่าจ้างต่ำ โดยเฉพาะก่อนวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 1997 มีการเจริญเติบโตที่
                   ยั่งยืนและมีเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค ความหลากหลายทางเศรษฐกิจรวม

                   ทั้งการเพิ่มขึ้นของคุณภาพชีวิตที่วัดได้โดยตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ภาคเศรษฐกิจ รวมทั้ง
                   การลดลงอย่างมากของความยากจน เมื่อวิกฤตทางการเงินของเอเชียในปี 1997
                   ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศไทยลดลง เศรษฐกิจโดยทั่วไปก็สามารถฟื้นตัว
                   ขึ้นได้ แต่หลายปีที่ผ่านมามีสัญญาณที่ชัดเจนว่าประเทศไทยได้สูญเสียความได้

                   เปรียบเชิงเปรียบเทียบ จากค่าแรงถูกแต่มีจุดอ่อนของความสามารถในการต่อสู้
                   กับกระบวนการและผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี การเจริญเติบโตทางรายได้หยุดลง

                   ความไม่มีเสถียรภาพเกิดขึ้น เงื่อนไขนี้ทำให้เกิดข้อห่วงใยว่าประเทศไทยได้อยู่ใน
                   ระดับประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ซึ่งข้อจำกัดของประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
                   คือ ถูกบีบให้อยู่ในระบบเศรษฐกิจที่ภาคผลิตมีค่าแรงต่ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับ
                   นวัตกรรมที่มีค่าแรงสูงความท้าทายของประเทศไทยก็คือการเปลี่ยนแปลงทาง

                   เศรษฐกิจจากการขับเคลื่อนโดยภาคการผลิตโดยอาศัยแรงงานที่มีราคาถูกไปสู่
                   เศรษฐกิจที่ต้องอาศัยความรู้ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่า ซึ่งประเทศไทยได้เผชิญ
                   หน้ากับความท้าทายของกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางและการสร้างความ

                   เจริญเติบโต ด้วยยุทธศาสตร์ระยะยาวในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
                   โดยมีองค์ประกอบหลักของการเปลี่ยนแปลง ดังนี้


                          1) แผนแม่บทรวมทั้งแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นกรอบการทำงาน
                             ที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายและโอกาส







                                                                             ปาฐกถานำ
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88