Page 88 - kpi18886
P. 88
80
ที่ต่อเนื่องบรรลุวัตถุประสงค์ แต่เมื่อไม่นานมานี้เหมือนจะมีการสูญเสียความ
เสถียรของนโยบายเศรษฐกิจไป เพราะก่อนหน้านี้รูปแบบของการพัฒนาที่ประสบ
ความสำเร็จมากในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นรูปแบบที่ขึ้นอยู่กับผลิตเพื่อการส่งออก
โดยใช้แรงงานค่าจ้างต่ำ ดึงความร่วมมือจากต่างประเทศ และขยายตลาด
ต่างประเทศ การเมืองของประเทศไทยที่มีความผันผวนในช่วงที่ผ่านมาอาจจะเป็น
ไปได้จากการเปลี่ยนผ่านของสังคมที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและ
ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อระบอบการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออัตราการเติบโต
ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ความท้าทายส่วนใหญ่เป็นเรื่องของสภาพแวดล้อมทางสากล
ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากตั้งแต่ปี 1990 ที่กระบวนการโลกาภิวัตน์เร่ง
ความเร็วขึ้นมาก และวิกฤตในปี 2008 วิกฤตใหญ่ที่ยังไม่จบนั้น ส่งผลกระทบ
อย่างมากต่อความเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย จึงมีความจำเป็นอย่าง
มากที่จะต้องวางแผนทางเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะแผนระยะยาวทางเศรษฐกิจ
จะท้าทายต่อระบอบการเมืองด้วยว่าจะจัด ปรับ กันอย่างไร ระหว่างการเปลี่ยน
ผ่านทางเศรษฐกิจในระยะยาวแต่ระบอบการเมืองมีระยะการดำเนินการที่สั้นอยู่
แบบนี้ นี่เป็นเรื่องที่ท้าทายมากระหว่างการเมืองที่เร็วและสั้นกว่า
ประเด็นที่ 4 คือความไม่กลมกลืนกันระหว่างการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจและ
ความเป็นประชาธิปไตยที่ยั่งยืน เพราะฉะนั้นตรงนี้จึงเป็นความท้าทายอย่าง
มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่เป็นปัจจุบันในโลกนี้
ประเทศไทยเริ่มการพัฒนาจากความไม่แน่นอน จากความผันผวนและใน
ขณะนี้ความเติบโตทางเศรษฐกิจระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวอาจจะยังไม่
แน่นอน เพราะฉะนั้นตอนนี้ ขณะนี้อัตราของสินค้าโภคภัณฑ์ยังลดลงตลอดเวลา
และมีความกดดันที่เกิดขึ้นในแรงงานผลิตต่างๆ ในเดือนตุลาคมปีนี้เอง World
Economic Outlook ได้พยากรณ์ออกมาว่า 3.5-3.7% คืออัตราการเติบโตของ
GDP ของโลก แต่ที่สำคัญคือชื่อเรื่องของรายงานนี้คือ “มองหาความเติบโต
ในระยะยาว คือการฟื้นฟูในระยะสั้นแต่ความท้าทายในระยะยาว” นั้นหมายความว่า
ระยะยาวยังมีความสำคัญฉะนั้นยอดของการค้าระหว่างประเทศลดลงมาเรื่อยๆ
ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 แล้วตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยกระเตื้องขึ้นเท่าไหร่
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นประเทศที่เราจะส่งออกซึ่งเป็นประเทศแถบยุโรปและ
ญี่ปุ่น รายได้ของประเทศเหล่านี้ชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2005-2014 รายได้ของ
ปาฐกถานำ