Page 87 - kpi18886
P. 87
79
เปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างราบรื่น พรรคการเมืองมักจะมีกลุ่มผลประโยชน์และ
ผู้สนับสนุนซึ่งนักเศรษฐศาสตร์อย่างอัลเบิร์ต เฮิร์ชแมน กล่าวว่าเป็นกลุ่ม
ผลประโยชน์ที่มักจะต่อต้านการปฏิรูป อันเป็นข้อจำกัดที่มีนัยสำคัญต่อ
การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเมื่อเศรษฐกิจและสังคมมีวิวัฒนาการไป
ในประเทศจีนแม้สามารถวางแผนในระยะยาวและประสบความสำเร็จได้
แต่ก็พบกับความท้าทายทางเศรษฐกิจการเมือง เศรษฐกิจหลักๆ คือการเพิ่มขึ้น
ของโครงการและการลงทุนที่ไม่มีผลผลิตและก่อให้เกิดหนี้ มีการเติบโตของ
อาคารสูง และไม่มีใครเข้าไปใช้อาคารนั้น เพราะการลงทุนหลักคือการลงทุนโดย
รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ รัฐบาลท้องถิ่น และได้รับการสนับสนุนทางการเงินโดย
ธนาคารที่เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจะต้องมี
การจัดสรรอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ในระหว่างรัฐวิสาหกิจและรัฐบาลท้องถิ่น
การเอาอำนาจออกจากกลุ่มผลประโยชน์ที่ได้รับผลประโยชน์จากรูปแบบ
การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งหมดไม่ใช่งานง่ายในระบอบการเมือง
ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
ประเทศเกาหลีใต้เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของพัฒนาการทางเศรษฐกิจ
ที่ประสบความสำเร็จและมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจากระบอบพัฒนาแบบ
อำนาจนิยมไปสู่ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างมากใน
แบบที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า Inter-sector upgrading เป็นการก้าวเข้าไปสู่
ภาคส่วนที่มีคุณค่ามากขึ้น เช่น ภาคอิเล็กทรอนิกส์ ยกระดับภาคอุตสาหกรรม
ภายในให้ไปสู่อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพ และการพัฒนาจากอำนาจนิยมไปสู่
ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
ข้อสังเกตเกี่ยวกับประเทศไทยคือประเทศไทยบรรลุความสำเร็จที่ผสมกัน
ระหว่างความเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ความ
หลากหลายของภาคส่วนในเศรษฐกิจ และลดความยากจน จนกระทั่งเกิดวิกฤต
ต้มยำกุ้งนั้นความมีเสถียรภาพทางนโยบายยังคงมี แม้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
หลายครั้งแต่ยังคงความต่อเนื่องในเสถียรภาพของการเมือง เสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจ กล่าวคือการเติบโตทางเศรษฐกิจกับการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นในภาวะ
ทางการเมืองที่มีความเสถียรทำให้สามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมีนโยบาย
ปาฐกถานำ