Page 13 - kpi20125
P. 13

บทที่ 1


                                                          บทน ำ



                 1.1   หลักกำรและเหตุผล

                        ภายหลังเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs)
                 ได้สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2558 ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General
                 Assembly) ได้จัดการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Summit)

                 เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558 ขึ้น เพื่อร่วมกันวางกรอบวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ฐานคิดของการ
                 พัฒนาตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ส าคัญนั้น มีหลักพื้นฐานอยู่ 5 ประการ ได้แก่ (1) การพัฒนาที่ไม่ทิ้ง
                 ใครไว้ข้างหลัง (Inclusive Development) คือ การพัฒนาที่กลุ่มคนยากจน คนในกลุ่มเปราะบาง กลุ่มคน

                 ชายขอบจะต้องมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการพัฒนา (2) การพัฒนาที่เป็นสากล (Universal
                 Development) คือ การพัฒนาที่ทุกประเทศต่างต้องอยู่ภายใต้เป้าหมายและร่วมกันบรรลุเพื่อสร้างสังคม
                 ยั่งยืนให้กับคนรุ่นหลัง มิได้มุ่งเน้นเพียงประเทศยากจนเท่านั้น (3) การพัฒนาที่บูรณาการ (Integrated
                 Development) คือ การบรรลุที่มีความเชื่อมโยงกัน ต้องด าเนินไปพร้อม ๆ กันอย่างเป็นระบบ (4) การ

                 พัฒนาที่ต้องเริ่มจากระดับท้องถิ่น (Locally-focused Development) คือ การพัฒนาจากล่างขึ้นบน
                 (Bottom-up) เพราะท้องถิ่นทั้งชนบทและเมืองนั้น ใกล้ชิดกับประชาชน การบรรลุ SDGs จึงต้องถูกน าไป
                 พิจารณาในระดับท้องถิ่นให้ได้และด าเนินการในระดับท้องถิ่นให้ได้ และ (5) การพัฒนาที่ต้องอาศัย
                 เทคโนโลยีในการขับเคลื่อน (Technology-driven Development) คือ ใช้เทคโนโลยีช่วยในการบรรลุ

                 เป้าหมาย เพื่อท าให้ผลของการพัฒนาถูกเผยแพร่และถูกติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ (พิริยะ ผลพิรุฬห์,
                 2560 และ โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน, 2560)
                        ผู้น าของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ รวมทั้งประเทศไทยได้รับรองวาระการพัฒนาที่
                 ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) ซึ่งวาระดังกล่าวได้มีการก าหนด

                 “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยได้มีการตั้งเป้าหมาย
                 ทั้งสิ้น 17 เป้าหมาย (Goals) 169 เป้าประสงค์ (Targets) เพื่อใช้เป็นแผนที่น าทางส าหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน
                 ในอีก 15 ปีข้างหน้า ภายใต้กรอบเป้าหมายนี้ ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า การจะบรรลุเป้าหมายการ

                 พัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น จ าเป็นจะต้องสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นทั้งมิติเศรษฐกิจ (Economic Dimension) มิติ
                 ทางสังคม (Social Dimension) และ มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Dimension) ซึ่งประกอบไป
                 ด้วยเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (1) การลดความยากจน (2) การขจัดความหิวโหย (3) สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (4)
                 การศึกษาที่มีคุณภาพ (5) ความเท่าเทียมกันทางเพศ (6) น้ าและสุขาภิบาล  (7) พลังงานที่สะอาดและจ่าย
                 ซื้อได้ (8) งานที่มีคุณค่าและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (9) อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้าง

                 พื้นฐาน (10) ลดความเหลื่อมล้ า (11) เมืองและชุมชนยั่งยืน (12) การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบและยั่งยืน
                 (13) การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (14) ระบบนิเวศทางทะเลและมหาสมุทร (15) ระบบ
                 นิเวศบนบก (16) สันติภาพและสถาบันที่เข้มแข็ง และ (17) หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Costanza &

                 Fioramonti, 2016, พิริยะ ผลพิรุฬห์, 2560 และ โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่
                 ยั่งยืน, 2560)
                        ส าหรับสถานการณ์ล่าสุดของประเทศไทยเกี่ยวกับสถานการณ์ด าเนินงานตามเป้าหมายของ SDGs
                 จากรายงาน SDGs Index and Dashboards ประจ าปี 2561 ที่จัดท าโดยเครือข่ายทางออกเพื่อการพัฒนา

                                                             1
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18