Page 14 - kpi20125
P. 14

ที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Solutions Network (SDSN) นั้น ประเทศไทยได้รับการจัดให้
                 อยู่ในอันดับที่ 59 ซึ่งเลื่อนลงมาจากปีที่แล้วที่อยู่ในอันดับที่ 55 จากการวัดสถานะความพร้อมและ
                 ความก้าวหน้าในการด าเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17

                 เป้าหมายภายในปี 2573 จากประเทศที่ส ารวจทั้งหมด 156 ประเทศทั่วโลก และจัดอยู่ในอันดับที่ 4 ของ
                 ประเทศกลุ่มอาเซียน โดยเป็นรองจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีระดับเป้าหมายการ
                 พัฒนาที่ยั่งยืนที่จัดอยู่ในเป้าหมายที่ยังไม่มีแนวโน้มว่าจะบรรลุได้ทันเวลาและยังคงต้องด าเนินการโดย

                 เร่งด่วน ได้แก่ ด้านการขจัดความอดอยาก สร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้านอุตสาหกรรม นวัตกรรม และ
                 โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านสังคมที่สงบสุข ยุติธรรม และไม่
                 แบ่งแยก รวมถึง การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Sustainable Development Solutions Network,
                 2018) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า แม้ประเทศไทยได้พยายามมุ่งเน้นการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่การบรรลุ
                 ตัวชี้วัดตามเป้าหมายที่เป็นสากลนั้นยังคงมีหลายประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

                        ประเด็นส าคัญประการหนึ่งที่มีส่วนฉุดรั้งตัวชี้วัดเป้าหมายด้านการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
                 คือปัญหาอัตราการเสียชีวิตจากการจราจรของประเทศไทย ในระดับโลกมีข้อมูลว่าในปี ค.ศ.2013 ผู้คนทั่ว
                 โลกประมาณ 1,250,000 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางจราจรซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ.2000 ถึงร้อย

                 ละ 13 (United Nations, 2017, p.4) โดยประเทศไทยถือว่ามีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็นอันดับสอง
                 ของโลก รายงานล่าสุดจากแผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) ที่เป็นการ
                 วิเคราะห์ข้อมูลจาก 3 ฐานหลัก ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข ส านักงานต ารวจแห่งชาติ และ บริษัท กลาง
                 คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จ ากัด พบว่า ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วง

                 พ.ศ.2554-2556 คิดเป็น 545,435 ล้านบาทหรือร้อยละ 6 ของจีดีพี ขณะที่เป้าหมายทศวรรษแห่งความ
                 ปลอดภัยบนท้องถนนของสหประชาชาติมีเป้าหมายในการลดอัตราเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลงครึ่งหนึ่งให้ได้ใน
                 ปี พ.ศ.2563 ที่หมายความว่าประเทศไทยจะต้องลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางจราจรลงจากปัจจุบัน
                 (พ.ศ.2559) อัตรา 34.40 คนต่อแสนประชากรให้เหลือ 17.86 คนต่อแสนประชากร (แผนงานสนับสนุนการ

                 ป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.), 2560, น.2-3)
                        ส าหรับสาเหตุส าคัญ เช่น เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกกันน็อก สภาพพื้นผิวจราจร พาหนะที่ขับขี่ ฯลฯ
                 ซึ่งได้มีการบังคับใช้กฎหมายและรณรงค์โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากแต่อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทาง
                 จราจรที่มีแนวโน้มลดลงระหว่าง พ.ศ.2554-2558 ได้ถึงร้อยละ 6.08 ต่อประชากรแสนราย กลับเพิ่มขึ้นมา

                 อีกครั้งถึงร้อยละ 4.76 รายต่อประชากรแสนรายในปี พ.ศ.2559 (สอจร., 2560, น.3) เพราะการขับเคลื่อน
                 เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนไม่อาจส าเร็จได้อย่างยั่งยืน หากขาดการยกระดับ
                 จิตส านึกด้านความรับผิดชอบต่อสาธารณะให้กับพลเมืองผ่านกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมที่เป็นระบบ

                 อันเป็นการแก้ไขปัญหาที่ระดับล่างขึ้นไปสู่ระดับบนตามแนวทางขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
                         ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนประเด็นนี้จากระดับประชาชนและชุมชนเช่นกัน ดังการศึกษาของ
                 จิตต์ปภัสสร์ บัตรประโคน และคณะ ในปี พ.ศ.2551 เกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยบนท้องถนนโดย
                 ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม โดยเป็นการศึกษาถอดบทเรียนจากชุมชน 1 แห่ง
                 ได้แก่ ชุมชนลาดใต้ อ าเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ที่ชุมชนมีการจัดท าป้ายจราจรแบบง่าย ๆ โดยคนใน

                 ชุมชนเอง เน้นใช้ความเป็นเพื่อนบ้านดูแลความปลอดภัยทางถนนมากกว่าใช้กฎหมาย ใช้กติกาหมู่บ้านแบบ
                 สมัครใจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง ได้แก่ อบต.ท่าสาย จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดท าผ้าป่า
                 สร้างทางลอดโดย อบต.สนับสนุนงบประมาณร่วมก่อสร้าง และมีการจัดท างบประมาณที่ค านึงถึงความ

                 ปลอดภัยทางถนน และเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่มีการฝึกอบรมสร้างความตระหนักแก่คน
                 หลายกลุ่ม การมีสายตรวจจักรยาน เป็นต้น (จิตต์ปภัสสร์ บัตรประโคน และคณะ, 2561, น.43-44)



                                                             2
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19