Page 15 - kpi20125
P. 15
อย่างไรก็ดี การศึกษาดังกล่าวเป็นการถอดบทเรียนจากการด าเนินงานหรือขับเคลื่อนที่ชุมชนหรือ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการด าเนินการอยู่แล้ว จึงเป็นที่น่าสนใจว่าหากมีการลดอุบัติเหตุจราจรบน
ท้องถนนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนและเยาวชนในโรงเรียนตั้งแต่การรับฟังข้อมูลข่าวสาร ตัดสินใจ
ออกแบบ ด าเนินการ และประเมินผล จะสามารถสร้างพลเมืองที่ตระหนัก ตื่นรู้ กระตือรือร้น และมีส่วนร่วม
ในการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนได้หรือไม่อย่างไร การศึกษา "การขับเคลื่อนเป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs): กรณีศึกษาการใช้แนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในกลุ่มเยาวชนไทยเพื่อ
เสริมสร้างความปลอดภัยทางถนน” จึงเกิดขึ้น ซึ่งการศึกษาน าร่องในพื้นที่กรณีศึกษาจะเป็นการทดลองตัว
แบบกระบวนการมีส่วนร่วม เนื่องจากพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการและชัยนาทมีเครือข่ายภาคพลเมืองและ
เยาวชนที่เข้มแข็ง เป็นพื้นที่ซึ่งมีระดับอัตราการเสียชีวิตประชากรจากอุบัติเหตุทางจราจรในระดับปานกลาง
ที่น่าจะเหมาะสมในการน ารูปแบบวิธีด าเนินการของงานวิจัยนี้ไปใช้ เพื่อน าไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงให้
เหมาะสมกับพื้นที่อื่นต่อไปได้
1.2 วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
กรณีศึกษา
2. เพื่อน าเสนอรูปแบบการด าเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม กรณี
การแก้ปัญหาอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่กรณีศึกษา
1.3 ขอบเขตกำรวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางการด าเนินการของภาครัฐสู่การขับเคลื่อนตามเป้าหมายการ
พัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กรณีการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนโดยเยาวชนเพื่อเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของ
การบรรลุเป้าหมายที่ 3 เรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
1.4 วิธีกำรศึกษำ
เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยให้กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมด าเนินกิจกรรม ร่วมเก็บ
ข้อมูลจากการด าเนินกิจกรรม รวมทั้งร่วมประเมินผลจากกิจกรรมที่ได้วางแผนไว้ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็น
กลุ่มขนาดเล็ก 2 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนจากสถานศึกษาสองแห่งในจังหวัดสมุทรปราการ (โรงเรียนสาขลาสุทธี
ราอุปถัมภ์) จ านวน 69 คน และจังหวัดชัยนาท (วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท) จ านวน 47 คน
1.5 ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ได้สร้างการเรียนรู้ของพลเมืองที่ตระหนัก ตื่นรู้ กระตือรือร้น และมีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไข
ปัญหาอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน
2. ได้รูปแบบการสร้างจิตส านึกสาธารณะด้านความปลอดภัยบนท้องถนนในชุมชนที่ริเริ่มโดยกลุ่ม
เยาวชน
3. ได้เสริมสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพด้วยกระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
4. เกิดเครือข่ายในการร่วมกันป้องกันอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนนที่น าไปสู่การลดอัตราการเสียชีวิต
3