Page 18 - kpi20125
P. 18

มีการส ารวจพบว่า ภาระที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเกิดขึ้นร้อยละ 90 ในประเทศ
                 รายได้น้อยและรายได้ปานกลาง เนื่องจากการพัฒนาความเป็นเมืองและการพัฒนายานพาหนะ หากไม่มี

                 มาตรการรับมือที่ดีพอก็จะท าให้การบาดเจ็บจากการจราจรบนท้องถนนกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตและ
                 บาดเจ็บเป็นอันดับที่สามในปี ค.ศ.2020 (Staton, 2016, p.2)
                        ท านองเดียวกันกับ Hyder et al. ได้มีการคาดการณ์ว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
                 ระหว่างปี ค.ศ.2004 – 2020 ของประเทศรายได้ต่ าและรายได้ปานกลางจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 27 และใน

                 ประเทศรายได้สูงจะมีอัตราการตายลดลงถึงร้อยละ 87 หากเทียบกับความสูญเสียทางเศรษฐกิจแล้ว
                 ประเทศรายได้ต่ าและประเทศรายได้ปานกลางจะสูญเสียคิดเป็นมูลค่าร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐทุกปี และ
                 ประเทศเหล่านี้ก็ขอรับการช่วยเหลือทางการเงินทุกปีที่ร้อยละ 1-3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยที่
                 ประชากรส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเป็นวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่อายุระหว่าง 15 – 44 ปี และร้อยละ 73

                 เป็นผู้ชาย (Hyder, 2012, pp.1061-1062) เป็นที่น่าสนใจว่ามีปัจจัยและสาเหตุใดที่ท าให้เกิดความไม่
                 ปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศก าลังพัฒนาหรือประเทศยากจน ซึ่งมีอัตราอุบัติเหตุหรือ
                 ความไม่ปลอดภัยบนท้องถนนในอัตราที่สูงกว่าประเทศพัฒนาแล้ว


                 2.2    สาเหตุและปัจจัยของความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน

                        การวิจัยถึงสาเหตุเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยบนท้องถนนมีผู้ศึกษาไว้เป็นจ านวนมาก โดยสรุปได้ว่า

                 สาเหตุส าคัญของของการเกิดอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน 3 ประการ  ได้แก่ คน ยานพาหนะ
                 ถนนและสภาพแวดล้อม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                        1.คน ได้แก่ 1) ตัวผู้ขับขี่ มีลักษณะส าคัญคือ ความไม่ช านาญเส้นทางและการขับขี่ มีพฤติกรรมขับ
                 ขี่ที่ไม่ปลอดภัย และขาดจิตส านึกที่ดีในการขับขี่ เช่น มีพฤติกรรมไม่เคารพกฎจราจร ไม่ค านึงถึงความ
                 ปลอดภัยของผู้ร่วมเดินทาง ขับรถเร็วเกินที่กฎหมายก าหนดจนไม่สามารถควบคุมการขับขี่เมื่อเกิดเหตุคับขัน

                 ขับรถตัดหน้ารถคันอื่นในระยะกระชั้นชิด ขับรถแซงคันอื่นในที่คับขัน มีภาวะอ่อนเพลียเนื่องจากขับรถเป้น
                 ระยะเวลานาน เป็นต้น 2) ผู้โดยสาร บางครั้งมีส่วนในการเร่งเร้าให้ผู้ขับขี่ขับรถเร็วเกินก าหนด หรือส่งเสียง
                 รบกวนสมาธิในการขับขี่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เป็นต้น

                        ปัจจัยด้านคนนี้ Azetsop ได้ศึกษาการแก้ปัญหาบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรบนท้อง
                 ถนนในเคนยาโดยใช้มิติด้านยุติธรรมทางสังคม Azetsop พบว่าสาเหตุหลักของการปัญหาอุบัติเหตุจาก
                 การจราจรทางถนนในเคนยามีสาเหตุจากพฤติกรรมถึงร้อยละ 85.5 แบ่งเป็นพฤติกรรมผู้ขับขี่ร้อยละ 44.4
                 คนเดินถนนและผู้โดยสารร้อยละ 33.9 และจักรยานร้อยละ 7.2 พฤติกรรมอันได้แก่ เมาแล้วขับ ขับรถเร็ว

                 รบกวนสมาธิผู้ขับขี่ ไม่ใช้เข็มขัดนิรภัย บรรทุกผู้โดยสารมากเกินไป ไม่ใส่ใจขั้นตอนการขับขี่ที่ปลอดภัย ฯลฯ
                 (Azetsop, 2010, p.116)
                        เช่นเดียวกันกับ Twisk et al. ได้ท าการศึกษาเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางจิตวิทยา
                 พฤติกรรมเสี่ยง กับความเป็นไปได้ที่จะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยศึกษาในกลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-16

                 ปี จ านวนรวม 2,310 คน พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงสัมพันธ์กันกับการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การประมาท การเล่นที่
                 เป็นอันตราย และการขาดพฤติกรรมในลักษณะป้องกัน ส่วนปัจจัยทางจิตวิทยาที่มีผลต่อการท าให้เกิด
                 พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นอายุระหว่าง 12-16 ปี  ได้แก่ ความไม่เอาใจใส่ ความตระหนักถึงพิษภัย ทัศนคติ
                 เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ ความสามารถในการเปรียบเทียบ และความรู้สึกรับผิดชอบ ขณะที่ปัจจัยด้านความรู้

                 และทัศนคติเกี่ยวกับกฎจราจรยังปรากฎผลที่ไม่แน่ชัดนัก (Twisk et al., 2015, pp.46-47, 54)




                                                             6
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23