Page 16 - kpi20125
P. 16
บทที่ 2
ทบทวนวรรณกรรม
2.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนกับความปลอดภัยบนท้องถนน
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ได้มีการ
ตั้งเป้าหมายความส าเร็จในปี ค.ศ.2030 โดยประเทศสมาชิกเริ่มการขับเคลื่อนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่
ยั่งยืนในปี ค.ศ.2015 จากรายงานการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ.2017 ของ
Bertelsmann Stiftung and Sustainable Development Solutions Network ด้วยค่าคะแนนเต็ม 100
คะแนน ภาพรวมการบรรลุเป้าหมาย 17 ด้านของประเทศไทยอยู่ที่ 69.5 คะแนน เป็นล าดับที่ 55 จาก
ทั้งหมด 157 ประเทศ (Bertelsmann Stiftung and Sustainable Development Solutions Network,
2017, p.1; pp.10-11)
เมื่อพิจารณาภาพรวมของเป้าหมาย SDG ทั้ง 17 ด้าน จากภาพประกอบด้านล่างยังเห็นได้ว่า
ประเด็นที่ประเทศไทยมีการขับเคลื่อนได้ดีที่สุดคือในเป้าหมายที่ 1 (พื้นที่สีเขียว) เรื่องของการขจัดความ
ยากจน ขณะเดียวกันก็ยังมีข้อบกพร่องในอีก 6 เรื่องที่ประเทศไทยจ าเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน (พื้นที่สี
แดง) ได้แก่ เป้าหมายที่ 2 การขจัดความหิวโหย เป้าหมายที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เป้าหมาย
ที่ 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายที่ 13 การรับรู้การเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายที่ 15 การใช้ประโยชน์ระบบนิเวศทางบก และเป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
(Bertelsmann Stiftung and Sustainable Development Solutions Network, 2017, p.15)
ส าหรับการวิจัยครั้งนี้ให้ความส าคัญกับเป้าหมายที่ 3 เนื่องจากเกี่ยวข้องกับพื้นฐานในการด ารงชีวิต
ของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตราการเสียชีวิตของประชาชนจากการใช้รถใช้ถนน
ภาพที่ 2.1 ข้อมูล SDG ของประเทศเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้
ที่มา : Bertelsmann Stiftung and Sustainable Development Solutions Network, 2017, p.15
4