Page 34 - kpi20125
P. 34
เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางถนน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้น คณะผู้วิจัยด าเนินกระบวนการสนทนา
แบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนได้มีโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการคิดและแสดงความ
คิดเห็นต่อการวิเคราะห์ปัญหา โดยมีรูปแบบในการกระตุ้นการระดมความเห็นให้ทุกคนได้คิดร่วมกันด้วยการ
ก าหนดให้นักเรียนทุกคนต้องแสดงความคิดเห็นผ่านการ เขียน“บัตรความคิด” ซี่งมีสีต่างกันตามข้อค าถาม จ านวน
6 ข้อ ได้แก่
(1) หากพูดถึงค าว่า “ความปลอดภัยทางถนน” พวกเราอยากเห็นอะไร
(2) ความไม่ปลอดภัยทางถนนที่เราพบเห็นมากที่สุดในชุมชน คือเรื่องใด
(3) หากชุมชนของเรามีความปลอดภัยทางถนนแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร
(4) หากเราสามารถท าให้ชุมชนมีความปลอดภัยทางถนนแล้ว สังคมจะชื่นชมเราว่าอย่างไร
(5) จุดดี/จุดเด่นของโรงเรียน ชุมชน และตัวเรา ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยทางถนนมากที่สุด
คืออะไร และ
(6) ท าอย่างไร ชุมชนของเราจึงจะเกิดความปลอดภัยทางถนน
ส าหรับค าถามข้อที่ 1 3 และ 4 นั้น เป็นการชวนให้นักเรียนคิดถึงภาพอนาคต (Scenario) ที่ต้องการเห็น
ความปลอดภัยทางถนนเกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนที่ตนอยู่อาศัย มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อตนเองและ
ส่วนรวม น าไปสู่การมองเห็นภาพสังคมที่ดีที่จะเกิดขึ้นหากมีความปลอดภัยทางถนน
ค าถามข้อที่ 2 และ 5 เป็นการให้นักเรียนได้ประมวลภาพปัจจุบันที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนที่ตนอยู่
อาศัย เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาความไม่ปลอดภัยทางถนนที่ก าลังเกิดขึ้นและยังคงเป็นปัญหาปรากฏอยู่ อันเป็น
สถานการณ์เฉพาะตามบริบทของพื้นที่ รวมทั้ง ได้ค านึงถึงสิ่งที่เป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการด าเนินการให้เกิดความ
ปลอดภัยทางถนนในชุมชนให้ประสบความส าเร็จ
ในส่วนค าถามข้อที่ 6 เป็นการชวนให้นักเรียนคิดวิเคราะห์เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่
ปลอดภัยทางถนนโดยประมวลข้อมูลจากค าตอบที่ได้ตอบไว้ในค าถามข้อที่ 1-5 เป็นฐาน
ในแต่ละข้อค าถาม เมื่อนักเรียนทุกคนได้เขียนบัตรความคิดของตนเองแล้ว ก็จะน าไปติดบนกระดาษฟลิป
ชาร์ตที่จัดเตรียมไว้ โดยคณะผู้วิจัยจะอ่านความเห็นบนบัตรความคิดทั้งหมด แล้วท าการจ าแนกบัตรค าออกเป็น
กลุ่มตามความหมายที่ใกล้เคียงกันร่วมกับตัวแทนนักเรียน จากนั้น คณะผู้วิจัยจะทวนสอบนักเรียนว่ากลุ่มบัตร
ความคิดที่จัดกลุ่มไว้มีความเหมาะสมหรือไม่ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะมีการตั้งชื่อของกลุ่มบัตรความคิดที่แสดง
ความหมายครอบคลุมกลุ่มค าทั้งหมด กระบวนการนี้ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 3 การพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการจัดท าโครงการ เมื่อนักเรียนได้ตอบ
ค าถามข้อที่ 6 และจัดกลุ่มบัตรความคิดออกเป็นแนวทางการสร้างความปลอดภัยทางถนนแล้ว คณะผู้วิจัยได้
สอบถามความเห็นและเปิดโอกาสให้นักเรียนซึ่งทางโรงเรียนได้พิจารณาจัดกลุ่มไว้ 5 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน เลือก
แนวทางการสร้างความปลอดภัยทางถนนที่กลุ่มตนเองมีความสนใจ กลุ่มละ 1 เรื่อง เพื่อน าไปพิจารณาร่วมกันใน
การคิดค้นกิจกรรมที่จะจัดท าขึ้นตามแนวทางที่กลุ่มตนเองเลือก ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวางแผนปฏิบัติการแบบมี
ส่วนร่วม เพื่อช่วยท าให้นักเรียนสามารถวางเค้าโครงและเห็นภาพของการท างานสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนขึ้น ใน
แผนปฏิบัติการดังกล่าว ประกอบด้วย ชื่อโครงการที่จะท า วัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรมย่อย กลุ่มเป้าหมาย
ช่วงเวลาด าเนินการ ตัวชี้วัด (เชิงปริมาณ/เชิงคุณภาพ) วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวชี้วัด งบประมาณ และ
ผู้รับผิดชอบโครงการ โดยในการด าเนินโครงการของนักเรียนแต่ละกลุ่มจะมีครูที่ปรึกษาประจ ากลุ่มเพื่อคอยให้
22