Page 30 - kpi20125
P. 30

2.6    ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน


                        ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Democracy) เป็นค าใช้กับระบอบประชาธิปไตย
                 แบบผู้แทนที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตัดสินใจมากขึ้น นอกเหนือจากการ
                 เลือกตั้งเพียงอย่างเดียว เช่น การมีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการด าเนินงานของรัฐ ร่วมแสดงความ

                 คิดเห็นและให้ข้อมูลในนโยบายสาธารณะ ร่วมตรวจสอบโครงการของรัฐ ฯลฯ หลักการส าคัญของ
                 ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม คือ ประชาชนมีส่วนร่วมในการเมือง การบริหารและนโยบาย โดยทั่วไปมีดังนี้
                        1.  ประชาชนหรือผู้เข้าร่วมในประเด็นสาธารณะทุกคนสามารถหยิบยกสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาขึ้นมา
                            เพื่อก าหนดเป็นวาระนโยบาย เสนอทางเลือก และร่วมเลือกหรือตัดสินใจขั้นสุดท้าย

                        2.  ในพื้นที่การเมืองหรือนโยบายนั้น ประชาชนหรือผู้เข้าร่วมทุกคนได้รับโอกาสให้สามารถพูดคุย
                            กันได้อย่างทั่วถึง
                        3. ในกระบวนการทางการเมืองหรือนโยบายนั้น ประชาชนทุกคนหรือผู้เข้าร่วมในกระบวนการ
                 นโยบายมีโอกาสได้ปรึกษาหารือ อภิปรายในประเด็นปัญหาที่เห็นว่าส าคัญแล้วน ามาพิจารณากันอย่าง

                 กว้างขวาง ทุกคนที่เข้าร่วมสามารถอภิปราย และแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีและเต็มที่
                        4. ในกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น น าไปสู่การสร้างมติหรือความเห็นพ้องต้องกันในประเด็นปัญหาที่
                 เลือกมา

                        ขั้นตอนของประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
                        ขั้นตอนที่  1  การมีส่วนร่วมวางแผน  ตั้งแต่การรับรู้  เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการวางแผน  และร่วม
                 วางแผนด าเนินกิจกรรม
                        ขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในการด าเนินกิจกรรม ตั้งแต่การเข้าไปท ากิจกรรม ตัดสินใจ
                        ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในการจัดสรรผลประโยชน์ รวมถึงการรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นจากการ

                 ตัดสินใจหรือด าเนินกิจกรรม
                        ขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมติดตามประเมินผล ร่วมประเมินประสิทธิผลของกิจกรรมต่าง ๆ
                 (ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2556, น.19; 30)

                        ในการศึกษาครั้งนี้เน้นความส าคัญของการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในการ
                 ค้นหาแนวทางจัดการกับปัญหาความไม่ปลอดภัยทางถนน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้กับกลุ่มเป้าหมายใน
                 ชุมชน เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนเรียนรู้และตระหนักความส าคัญของประเด็นปัญหาร่วมกัน ในการศึกษาครั้ง
                 นี้ได้ประยุกต์แนวคิดส าหรับวิธีเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้โดยทั่วไป ได้แก่ การเรียนรู้โดยลงมือปฏิบัติจริง

                 เรียนรู้จากประสบการณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา การถ่ายทอด การบอกเล่า ฯลฯ ซึ่งเป็นวิธีการใน
                 รายละเอียดของการศึกษาและเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมมีเทคนิคหลายอย่างส าหรับ
                 ผู้ที่ต้องการศึกษา เช่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) การ
                 ควบคุมและชักชวนให้เล็งเห็นคุณค่า (Appreciation Influence Control: AIC) กระบวนการเรียนรู้ทาง

                 สังคม (Social Learning Process: SLP) (ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ, 2543, น.10; น.69-95)
                        เทคนิคเหล่านี้ล้วนมีความส าคัญต่อการศึกษาในพื้นที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ และขอบเขต
                 ของผู้ที่ต้องการส่งเสริมการมีส่วนร่วม เทคนิคการศึกษาที่ใช้เป็นส่วนใหญ่ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การวิจัย
                 เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) เป็นเทคนิคที่เน้นให้กลุ่มเป้าหมาย

                 เห็นความส าคัญของการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ก่อนการวิจัย เป็นการเลือกพื้นที่แล้ว
                 มีการส ารวจข้อมูลเบื้องต้น และเผยแพร่แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 2) การท าวิจัย เป็น


                                                            18
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35