Page 29 - kpi20125
P. 29

3.การมีระบบประกันภัยเพื่อความปลอดภัยทางถนน เป็นการก าหนดมาตรการของระบบประกันภัย
                 เพื่อให้เป็นเครื่องมือที่จะสามารถส่งเสริมและสนับสนุนระบบความปลอดภัยทางถนนให้เกิดขึ้นในประเทศ

                 ไทย โดยให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย (พระราชบัญญัติคณะกรรมการกากับ
                 และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ.2550) และให้คณะกรรมการก ากับและส่งเสริมการประกอบ
                 ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ปรับปรุงข้อก าหนดหลักเกณฑ์ และรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยให้รองรับและ
                 สอดคล้องกับมาตรการส่งเสริมความปลอดภัยทางถนนอย่างเป็นรูปธรรม

                        4.การพัฒนาคุณภาพประชาชนทุกช่วงวัยให้มีความรู้ที่เป็นผลดีต่อความปลอดภัยในชีวิตและ
                 ทรัพย์สินจากอุบัติเหตุทางถนน โดยจัดให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่องทั้งการศึกษา การเสริมสร้างทักษะ องค์ความรู้
                 ในการใช้รถใช้ถนนที่เหมาะสมกับช่วงวัย
                        5. การเสริมสร้างความเข็มแข็งของสถาบันทางสังคม ส่งเสริมให้ทุกองค์กรและทุกภาคส่วนมี

                 พฤติกรรมที่ดีในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน เพื่อสร้างวินัย วัฒนธรรมที่ดี เป็นพื้นฐานการพัฒนาคนที่ดีสู่สังคม
                        6.การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยให้มีการพัฒนาปรับปรุงระบบ
                 ขนส่งสาธารณะตามความเหมาะสมของศักยภาพในแต่ละจังหวัด อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมเพื่อให้
                 ประชาชนสามารถเดินทางในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ หรือเดินทางระหว่างจังหวัดได้อย่างสะดวกและปลอดภัย

                 เช่น การขนส่งแบบราง (Rail transit) ส่งผลให้ประชาชนใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลดลง และอัตราการเกิด
                 อุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจะลดลงไปด้วย (คณะกรรมาธิการวิสามัญขับเคลื่อนการปฏิรูประบบความ
                 ปลอดภัยทางถนน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, 2558, น.31)

                        ปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2561 – 2564 โดย
                 คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
                 แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2561 – 2564 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการด าเนินงานของทุกภาค
                 ส่วนในการขับเคลื่อนการด าเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
                        ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปฏิรูประบบการจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน เช่น การเพิ่มขีด

                 ความสามารถองค์กรการบริหารความปลอดภัยทางถนน เพิ่มประสิทธิภาพระบบฐานข้อมูล การปรับปรุง
                 กฎหมายให้ทันสมัย เพิ่มสัดส่วนงบประมาณ ทรัพยากร และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
                        ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน เช่น สร้างพฤติกรรม

                 ด้านความปลอดภัยทางถนนในกลุ่มเยาวชน/ในสังคม ส่งเสริมให้เกิดผู้ขับขี่คุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพการ
                 จัดการปัจจัยเสี่ยงหลักที่น าไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ
                        ยุทธศาสตร์ที่ 3 ประเทศไทยขนส่งทางถนนปลอดภัย 4.0 เช่น ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย
                 ของยานพาหนะ ยกระดับถนนที่ปลอดภัย ส่งเสริมการเดินทางเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                        ยุทธศาสตร์ที่ 4 ประชารัฐเพื่อถนนปลอดภัย เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อลดอุบัติเหตุทาง
                 ถนนจากทุกภาคส่วน
                        นอกจากนี้ ได้มีการก าหนดค่าเป้าหมายตัวชี้วัด ปี พ.ศ. 2560 – 2564 อัตราการเสียชีวิตต่อ
                 ประชากรหนึ่งแสนคน แต่ละปีเป็น 30 27 24 21 และ 18 คน ตามล าดับ และได้มีการก าหนดแผน

                 ยุทธศาสตร์ในระยะเวลา 20 ปี (ปี พ.ศ.2561 – 2580) ด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทย เพื่อ
                 เป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาประเทศในระยะยาวให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้เกิดความ
                 ปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน ซึ่งคณะกรรมการศูนย์อ านวยการความปลอดภัยทางถนนและ
                 คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทฯ พ.ศ.

                 2560 – 2563 โดยให้ปรับเป็นแผนแม่บทฯ พ.ศ. 2561 – 2564 ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12
                 (ส านักข่าวอิศรา, 2562)


                                                            17
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34