Page 10 - kpi20207
P. 10
การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 9
บทเรียนที่ได้รับจากการจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นใน
การจัดทำากฎหมายของสหภาพยุโรป อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาได้สะท้อน
ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันว่าการจัดทำากฎหมายที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็น
จากผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านตั้งแต่ก่อน ระหว่าง และภายหลังกระบวนการ
ยกร่างกฎหมายช่วยสร้างความชอบธรรมให้แก่กฎหมายที่ประกาศใช้ได้เป็น
อย่างดี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีความพยายามในการพัฒนา
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อร่างกฎหมายและนโยบายของ
รัฐมาโดยลำาดับ แต่จากการทบทวนประสบการณ์การจัดการรับฟังความ
คิดเห็นทางด้านกฎหมายของประเทศไทยภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ยังมีปัญหาและอุปสรรคของการดำาเนินการในแทบจะ
ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนและเตรียมการ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
และผู้เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมาย การเลือกใช้วิธีการรับฟังความคิดเห็น
การจัดทำาสรุปและรายงานผล การประเมินผล และการสร้างกระบวนการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ยิ่งไปกว่านั้น ความพยายาม
ในการแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมาภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยได้มีการกำาหนดแนวทาง
การจัดทำาและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเพื่อให้หน่วยงานของรัฐดำาเนินการตาม
ยังไม่ประสบความสำาเร็จและปรากฏปัญหาและอุปสรรคโดยเฉพาะที่
เกิดขึ้นผ่านการดำาเนินการปรึกษาหารือสาธารณะผ่านเว็บไซต์ www.
lawamendment.go.th ที่รัฐบาลจัดทำาขึ้นมาเพื่ออำานวยความสะดวก
ให้แก่หน่วยงานผู้รับผิดชอบในการจัดทำาร่างกฎหมาย
01-142 PublicConsult_ok.indd 9 22/6/2562 BE 17:26