Page 11 - kpi20207
P. 11
10
ข้อค้นพบที่กล่าวมาข้างต้นสะท้อนว่าหัวใจสำาคัญของการดำาเนิน
การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมายคือสร้างการมีส่วนร่วมและ
การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างแท้จริง การดำาเนินการ
จัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นแต่ละครั้งจึงต้องมีการกำาหนดกลุ่ม
เป้าหมายที่ชัดเจนและครอบคลุม และมีช่องทางให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบจากร่างกฎหมายสามารถเข้าถึง
กระบวนการได้โดยมีข้อจำากัดให้น้อยที่สุด นอกจากนี้ การจัดกระบวนการ
รับฟังความคิดเห็นในการจัดทำากฎหมายจำาเป็นต้องได้รับการสนับสนุน
อย่างเป็นระบบจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความมั่นใจ
แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ได้รับประโยชน์และผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายต่อ
การจัดกระบวนการและผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้น สำาหรับประเทศไทย การจัดกระบวนการรับฟังความเห็น
ในการจัดทำากฎหมายภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะควรดำาเนินการ
อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นเป็นตอน โดยแบ่งการดำาเนินการออกเป็น
2 ระดับที่มีการประสานเชื่อมโยงกันระหว่างระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ
กล่าวคือ ประการแรก รัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาเพื่อทำาหน้าที่
สนับสนุน กำากับติดตาม ตรวจสอบ และพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็น
ต่อร่างกฎหมายภายใต้แนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะของหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบจัดทำาหรือปรับปรุงกฎหมาย หน่วยงานดังกล่าวอาจอยู่ภายใต้
การกำากับของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี และมีความอิสระและ
คล่องตัวในการบริหารจัดการองค์กร ประการที่สอง รัฐบาลควรกำาหนด
แนวทางให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบจัดทำาหรือปรับปรุงกฎหมายดำาเนินการจัด
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายอย่างสอดคล้องกับแนวคิด
และหลักการสำาคัญของการปรึกษาหารือสาธารณะ
01-142 PublicConsult_ok.indd 10 22/6/2562 BE 17:26