Page 40 - kpi20207
P. 40

การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
                                    และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ  39

                             การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายมีเป้าหมายหลัก

                     2 ประการ คือ (1) เพื่อพัฒนากระบวนการในการกำาหนดกฎกติกาใน
                     การกำากับดูแลของภาครัฐ และ (2) เพื่อปรับปรุงคุณภาพของกฎระเบียบ
                     ของภาครัฐให้มีคุณภาพ (Regulatory Policy Division, 2008: 11) เพื่อ

                     บรรลุเป้าหมายดังกล่าวการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายที่ดี
                     ควรมีกระบวนการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการแสดง

                     ความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐที่ริเริ่มในการจัดทำา
                     กฎหมาย โดยให้หน่วยงานผู้ริเริ่มต้องชี้แจงเหตุผลและความจำาเป็นของ
                     การออกฎหมาย รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นให้ชัดเจน รวมถึงพัฒนา

                     กระบวนการวิเคราะห์ที่โปร่งใสและรอบคอบเพื่อให้ร่างกฎหมายผ่าน
                     การซักถาม ชี้แจง ถกเถียง ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ

                     ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อให้การออกกฎหมายมีความสมบูรณ์และ
                     ลดแรงต้านเนื่องจากสร้างการยอมรับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับหนึ่ง
                     (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2557: 2-2)


                             นอกจากนี้ การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมายสามารถ
                     ทำาได้ตั้งแต่ก่อนมีการทำาร่างกฎหมายเพื่อวิเคราะห์ทางเลือกต่างๆ เพื่อนำา

                     ไปสู่การตัดสินใจว่าควรออกฎหมายหรือไม่ จนไปถึงการวิเคราะห์ผลกระทบ
                     ภายหลังจากมีร่างกฎหมายแล้ว การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย

                     ต้องมีการจัดทำารายงานผลการวิเคราะห์ (RIA document) โดยกระบวนการ
                     จัดทำารายงานจัดเป็นกระบวนการทางนโยบายที่มีเหตุผลและดำาเนินการ
                     ตามขั้นตอนต่างๆ อย่างชัดเจน ความซับซ้อนและความลุ่มลึกในรายงาน

                     ผลการวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับความสำาคัญและขนาดผลกระทบของประเด็น
                     ทางนโยบาย โดยองค์กรเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจได้สรุป

                     ขั้นตอนการจัดทำารายงานผลการวิเคราะห์ไว้ 6 ประการ (Regulatory
                     Policy Division, 2008: 16) ดังนี้









         01-142 PublicConsult_ok.indd   39                                     22/6/2562 BE   17:26
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45