Page 35 - kpi20207
P. 35
34
และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและมีความครบถ้วนสมบูรณ์
มากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์เป้าหมาย วัดความคาดหวัง
และช่วยระบุทางเลือกทางนโยบายได้ นอกจากนี้ การปรึกษาหารือสาธารณะ
ยังมีส่วนช่วยในการประเมินต้นทุนค่าใช้จ่าย และผลประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้น
จากการออกกฎหมายและมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาการนำาข้อเสนอ
กฎหมายสู่การปฏิบัติ ตลอดจนการประเมินผลการดำาเนินงานจากการบังคับ
ใช้กฎหมายไประยะหนึ่งเพื่อรับทราบปัญหาและอุปสรรค (Rodrigo and
Amo, 2006: 1; Program for Public Consultation, n.d.)
ประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมอยู่ในกระบวนการปรึกษาหารือ
สาธารณะส่วนใหญ่มักจะมีความเป็นตัวแทนที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่าง
เพื่อมาทำาหน้าที่สะท้อนความเห็นของประชาชนโดยภาพรวม ซึ่งมีลักษณะ
คล้ายการสำารวจความคิดเห็นสาธารณะทั่วไป (public opinion poll) แต่
การปรึกษาหารือสาธารณะนั้น ผู้ที่เป็นตัวแทนจะได้รับคำาถามที่กว้างขึ้น
เป็นคำาถามที่มีความหมายต่อการกำาหนดนโยบายหรือออกกฎหมาย และ
มีประเด็นโต้แย้งกันอยู่ในคำาถามนั้น ซึ่งเป้าหมายของการปรึกษาหารือ
สาธารณะก็เพื่อให้ผู้เข้าร่วมในกระบวนการนี้ได้มีประสบการณ์เสวนา
และแสดงความคิดเห็นในประเด็นเชิงนโยบายหรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ
การบัญญัติกฎหมายแบบเฉพาะเจาะจง โดยผู้ที่ทำาหน้าที่กำาหนดนโยบาย
หรือจัดทำากฎหมายจะแสดงตัวเป็นผู้สนับสนุนในแต่ละทางเลือกของประเด็น
นโยบายนั้นๆ เพื่อเสนอและตรวจสอบข้อมูลที่จะนำาเสนอต่อผู้เข้าร่วม
กระบวนการ (Program for Public Consultation, n.d.)
ในกระบวนการปรึกษาหารือโดยทั่วไป ผู้เข้าร่วมกระบวนการ
ต้องได้รับข้อมูลหรือศึกษาข้อมูลในประเด็นนโยบายนั้นก่อน โดยผู้เข้าร่วม
อาจได้รับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเต็มที่เพื่อจะได้มีข้อมูลในการเสวนา
01-142 PublicConsult_ok.indd 34 22/6/2562 BE 17:26