Page 36 - kpi20207
P. 36
การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ 35
หรือแสดงความคิดเห็น จากนั้นผู้เข้าร่วมกระบวนการจะถูกซักถามเพื่อให้
แสดงทัศนะและพิจารณาทางเลือกต่างๆ การปรึกษาหารือสาธารณะจึงเป็น
วิธีการที่มีประโยชน์หลายประการ เช่น เป็นวิธีการที่เป็นประชาธิปไตย
ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเพราะผู้เข้าร่วมแทบจะไม่มีการโต้เถียงกันแต่
พยายามที่จะหาจุดร่วมที่ยอมรับกันได้ และสร้างความเชื่อมั่นของประชาชน
ที่มีต่อภาครัฐได้ นอกจากนี้ ในแง่ประโยชน์ต่อผู้จัดทำานโยบายยังทำาให้
ได้รับรู้มุมมองของประชาชนและ/หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นๆ และได้
มุมมองใหม่ในการจัดทำานโยบายหรือการออกกฎหมายที่มีความท้าทายแตก
ต่างไปจากเดิม (Program for Public Consultation, n.d.)
โดยสรุป กระบวนการจัดทำานโยบายสาธารณะและการจัดทำา
กฎหมายในบริบทของประชาธิปไตยที่มีความหมาย ประชาชนจะต้อง
เข้าไปมีส่วนร่วมไม่ใช่เพียงรับรู้ข้อมูลเท่านั้น แต่ประชาชนจะต้องมีบทบาท
เป็นประชาชนที่มีความพร้อม มีช่องทาง มีบทบาทเข้าไปร่วมตัดสินใจ
ในนโยบายและข้อกฎหมายที่มีผลกระทบทั้งต่อตนเองและสังคมโดยรวม
ประชาชนจึงเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการรับฟังความเห็นในรูปแบบ
การปรึกษาหารือสาธารณะในฐานะของหุ้นส่วนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน
นโยบายหรือกฎหมายที่นำามาพิจารณานั้น เพื่อนำาไปสู่การตัดสินใจดำาเนิน
นโยบายสาธารณะและ/หรือออกกฎหมายที่เหมาะสม ทำาให้เกิดผลลัพธ์ที่
คุ้มค่า และนำาไปสู่การสร้างความเสมอภาคในสังคมได้อย่างแท้จริง ประเด็น
สำาคัญเหล่านี้จะถูกนำาไปพิจารณาอย่างเข้มข้นและรอบด้านในการศึกษา
บทเรียนและประสบการณ์จากกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในการจัดทำา
กฎหมายในประเทศไทยและต่างประเทศของหนังสือเล่มนี้
01-142 PublicConsult_ok.indd 35 22/6/2562 BE 17:26