Page 107 - kpi20756
P. 107

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   107
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                      บทนำ



                            ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมี

                      กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด โดยประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง
                      ประเทศโดยการใช้สิทธิผ่านการเลือกตั้งในการเลือกตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่ในรัฐสภา ตาม
                      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                      ประกอบไปด้วยสมาชิก 500 คนซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยกำหนดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ
                      แบ่งเขตจำนวน 350 คน ซึ่งใช้วิธีการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ โดยแต่ละเขตเลือกตั้งมี

                      จำนวนผู้แทนได้เพียงคนเดียว และสมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง 150 คน
                                                                                                               1
                      โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ หรือ
                      เรียกว่า “แบบจัดสรรปันส่วนผสม” (mixed member apportionment system หรือ MMA)

                      หรือรู้จักกันโดยทั่วไปว่า ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่มีสมาชิกแบบผสม (Mixed Member
                      Proportional: MMP) เป็นการนำคะแนนจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต

                      เลือกตั้งมาคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง
                      โดยการเลือกตั้งแบบใหม่นี้กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยการใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว
                                                                                                               2
                      ซึ่งต่างกันกับการเลือกตั้งแบบเดิมที่ผ่านมาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

                      2540 และ 2550 เป็นระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนานระหว่างการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและ
                      แบบเป็นสัดส่วน (Paralleled Proportional) โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ ซึ่งเลือก

                      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อแยกออก
                      จากกัน ทำให้การจัดสรรที่นั่งของผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้งและระบบเป็นสัดส่วนจากบัญชี
                      รายชื่อของพรรคจะเป็นอิสระจากกัน โดยจะไม่นำคะแนนจากระบบเลือกตั้งสองระบบมาคิด

                      รวมกัน และไม่มีการชดเชยคะแนนเพื่อให้ที่นั่งที่พรรคการเมืองได้รับอันเป็นการสะท้อนสัดส่วน
                                                                          3
                      คะแนนที่แท้จริงของพรรคการเมืองจากระบบบัญชีรายชื่อ

                            จากการเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า พบสูตรในการคำนวณ
                      การได้มาซึ่งที่นั่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ นับว่าเป็นปัญหาที่สุดตั้งแต่

                      มีรัฐธรรมนูญมา  สาเหตุสำคัญเนื่องจากระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมนั้น ใช้คะแนน
                      เสียงการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้รับมาคำนวณเป็นที่นั่งสมาชิกสภา
                      ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเพื่อให้ได้จำนวน 150 ที่นั่ง ทำให้ระบบการคำนวณที่มาของสมาชิก

                      สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีความซับซ้อนมาก และนอกจากนี้วิธีการคำนวณการได้มาซึ่ง


                          1   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 83
                          2   สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ระบบการเลือกตั้งใหม่ : แบบจัดสรรปันส่วนผสม.
                      เอกสารวิชาการมีนาคม 2559 ที่มา https://www.parliament.go.th/library/ เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 28 มีนาคม
                      2562

                          3   วงศ์วริศ ศุภปฐวีพงศ์. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการเลือกตั้งด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์.
                      (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, สาขาสาขาวิชาการบริหารจัดการ     เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
                      สาธารณะ สำหรับนักบริหาร, หน้า 16-17
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112