Page 110 - kpi20756
P. 110

110     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  บัญชีรายชื่อ กล่าวคือ นำรวมผลคะแนนทั้งหมดที่พรรคการเมืองได้รับคะแนนจากบัญชีรายชื่อ
                  ของพรรคการเมืองมาคิดคำนวณหาสัดส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ  ในกรณี
                                                                                                  8
                  ที่พรรคการเมืองใดได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละห้าของจำนวนคะแนนเสียงรวมทั้งประเทศ
                  ให้ถือว่าไม่มีผู้ใดในบัญชีนั้นได้รับการเลือกตั้ง และมิให้นำคะแนนเสียงนั้นมาคำนวณเพื่อหา
                                                          9
                  สัดส่วนของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                           ระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญแห่ง

                  ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นการส่งเสริมระบบพรรคการเมือง เพราะต้องเลือก
                  บัญชีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งโดยเลือกตัวบุคคลไม่ได้ ทำให้คะแนนของผู้มีสิทธิ
                  ทุกคนมีความหมายโดยเฉพาะคะแนนที่เลือกพรรคการเมือง เพราะต้องนำคะแนนไปคำนวณ

                  รวมกันในระดับประเทศ ในขณะที่ระบบนับคะแนนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
                  นั้นคะแนนของผู้ที่แพ้การเลือกตั้งหมดความหมาย เพราะไม่มีการนำคะแนนไปคำนวณอีก ทำให้

                  ได้ผู้แทนราษฎรที่มีวิสัยทัศน์กว้างระดับประเทศเพิ่มขึ้นแทนที่จะเป็นผู้แทนเขตเลือกตั้ง และกรณี
                  พรรคการเมืองใดได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 5 ให้ถือว่าไม่มีใครได้รับเลือกตั้งก็เพื่อไม่ให้มีพรรคน้อย
                                                                                                          10
                  เต็มสภา ซึ่งจะทำให้รัฐสภาไม่มีเสถียรภาพ การบริหารประเทศเป็นไปอย่างไม่คล่องตัว
                  แต่ระบบนี้พบข้อเสียคือพรรคเล็กพรรคน้อยไม่มีโอกาสได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา
                  ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ คะแนนที่ประชาชนได้มีการเลือกตั้งพรรคนั้นอาจไร้ความหมาย

                  กล่าวคือไม่ถูกนำมาคิดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและทำให้ไม่มีพรรค
                  การเมืองเล็กๆ มีโอกาสเข้าทำหน้าที่ในรัฐสภา


                       1.2)  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550


                           ช่วงระยะเริ่มแรกของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ยังคงมีการเลือกตั้งแบบผสม
                  ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน โดยมาจาก
                  การเลือกตั้งแบ่งเขตจำนวน 400 คน และมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน
                                                                                                          11
                  เป็นการเลือกตั้งโดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อที่เรียกว่า บัญชีสัดส่วน โดย
                  รูปแบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด โดยแต่ละกลุ่มจังหวัดจะมีจำนวน

                                                                                     12
                  ประชากรใกล้เคียงกัน และแต่ละเขตมีอาณาเขตติดต่อกันเป็นผืนเดียว  แต่ละพรรคการเมือง
                  จะต้องส่งรายชื่อผู้สมัคร 8 บัญชี ลงสมัครใน 8 กลุ่มจังหวัด บัญชีละไม่เกิน 10 คน เรียงตาม



                     8   พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
                  พ.ศ. 2541 มาตรา 76 (1)
                        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 99  และพระราชบัญญัติประกอบ

                     9
        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2     อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนักการเมือง. วารสารรัฏฐาภิรักษ์, 57(1), หน้า 26
                  รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 76 (2)
                        สมยศ อักษร. (มกราคม-เมษายน 2558). การปฏิรูปเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกรัฐสภาที่สุจริตและเป็นธรรม
                     10

                        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 93
                     11


                     12
                        นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (1 ตุลาคม 2562). ที่มาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
                  ไทย 2550. สืบค้นจาก http://wiki.kpi.ac.th
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115